การกำกับดูแลกิจการที่ดี

  1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการบริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารองค์กร โดยยึดหลักบรรษัทภิบาลที่ดีและตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้การกำกับดูแลกิจที่ดียังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลง สถาบันการเงิน พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

ในการดำเนินธุรกิจอันจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าของผู้ถือหุ้นและประโยชน์ที่สมดุลร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท คณะกรรมการ จึงได้กำหนดนโยบายกลไกการบริหาร การดำเนินงาน และระบบการกำกับดูแลบนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งยึดมั่นในความโปร่งใส รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมทั้งยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการในการดำเนินธุรกิจสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มีการทบทวนและปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทฯ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทฯ มุ่งมั่นรักษามาตรฐานงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้เทียบเท่าระดับสากลมาตลอดระยะเวลาที่ได้ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยยึดมั่นในอุดมการณ์ซึ่งได้ถือปฏิบัติสื่บเนื่องกันมาภายใต้กรอบของจรรยาบรรณ โดยยึดหลักบรรษัทภิบาลที่ดีและตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้การกำกับดูแลกิจที่ดียังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน สถาบันการเงิน พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

ในการดำเนินธุรกิจอันจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าของผู้ถือหุ้นและประโยชน์ที่สมดุลร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทคณะกรรมการ จึงได้กำหนดนโยบายกลไกการบริหาร การดำเนินงาน และระบบการกำกับดูแลบนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งยึดมั่นในความโปร่งใส รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมทั้งยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการในการดำเนินธุรกิจสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มีการทบทวนและปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ครอบคลุมถึงองค์ประกอบ และหน้าที่ความรับผิดชอบในโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ แนวปฏิบัติ เพื่อให้บริษัทและบริษัทย่อยปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ทั้งในระดับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ผ่าน 5 หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และความซื่อสัตย์และจรรยาบรรณ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบสูงสุด มีความโปร่งใส และปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้บริษัทฯ ในเครือมีการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนจรรยาบรรณ และสามารถนำไปปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บริษัทให้พนักงานทุกคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับกฏเกณฑ์และการปฏิบัติงาน ผ่านระบบอินทราเน็ตของบริษัทเป็นประจำทุกปี และนำผลที่ได้มาประเมินระดับความรู้และความเข้าใจของพนักงานเพื่อปรับปรุงการสื่อสารให้พนักงานมีความเข้าใจอย่างทั่วถึง และตระหนักถึงหน้าที่ของตนในการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร

สำหรับปี 2563 บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินจากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies – CGR) ในระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จากการประเมินโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยพิจารณาจากข้อมูลที่บริษัทฯ เผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตลาดจนเอกสารเผยแพร่อื่นๆ ของบริษัท และบริษัทยังได้ผ่าน การประเมินคุณภาพการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2563 ด้วยคะแนนเต็ม 100 คะแนน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จากจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมโครงการประเมินทั้งหมด 712 บริษัท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้นำเสนอรายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบ และพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการของบริษัท

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูล และการพบปะกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ ผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19 เพื่อชี้แจ้งนโยบายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถามต่างๆ บนหลักการของการดำเนนการบนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือและความเป็นมืออาชีพ โดยคำถึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

สิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทฯ ตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นและมุ่งมั่นที่จะพิทักษ์และอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ได้แก่ การซื้อ ขาย หรือโอนหุ้น การมีส่วนแบ่งในกำไรของบริษัท การได้รับข่าวสารข้อมูลอย่างเพียงพอผ่านช่องทางและเวลาที่เหมาะสม การเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น การเลือกตั้งหรือถอดถอนกรรมการ รวมถึงการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของบริษัทอย่างเพียงพอเพื่อการตัดสินใจ

บริษัทปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือรายย่อย บุคคลธรรมดาหรือสถาบัน สัญชาติไทยหรือต่างชาติ ทั้งที่เป็นผู้บริหารหรือไม่เป็นผู้บริหาร โดยมีนโยบายดังนี้

1. ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะได้รับการคุ้มครองจากการกระทำที่ไม่เป็นธรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม

2. กำหนดหลักเกณฑ์การห้ามใช้ข้อมูลภายในไว้อย่างเข้มงวด

3. คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงต้องเปิดเผยธุรกรรมที่ตนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบโดยตรงกับบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือผ่านบุคคลที่สาม

บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกราย (ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และนักลงทุนสถาบัน) เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยบริษัทฯได้จัดส่งหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเชิญผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม พร้อมหนังสือมอบฉันทะแบบ ก. (สำหรับผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งเป็นแบบทั่วไป) แบบ ข. (สำหรับผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งเป็นแบบกำหนดรายการชัดเจน) และแบบ ค. (สำหรับผู้ถือหุ้นต่างประเทศที่แต่งตั้งให้คัสเดียนในประเทศไทยเป็นผู้รับฝากและดูแลหุ้น) เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมเทน นอกจากนี้ บริษัทได้ติดต่อนักลงทุนสถาบันที่เป็นกองทุนหรือคัสโตเดียน เพื่อส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม และอำนวยความสะดวกในการช่วยตรวจสอบเอกสารการเข้าร่วมประชุมล่วงหน้า รวมถึงมีการให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามต่างๆ อีกด้วย

ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากการประชุมสามัญผู้ถือหุนประจำปีซึ่งต้องจัดภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดของรอบบัญชีแล้ว คณะกรรมการอาจเรียกประชุมวิสามัญในวัน เวลา และสถานที่ที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ต้องการร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีการเรียกประชุมวิสามัญ ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นโอกาสสำคัญที่ผู้ถือหุ้นจะสามารถใช้สิทธิเพื่อมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ของกิจการ ซึ่งได้อำนวยความสะดวกกในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ
    บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทซึ่งถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละห้า (5%) ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ โดยอาจเป็นผู้ถือหุ้น รายเดียวหรือหลายรายรวมกันก็ได้ เสนอเรื่องที่เห็นว่าสำคัญและควรบรรจุเป็นระเบียบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และ/หรือเสนอชื่บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นกรรมการมายังบริษัท โดยมีกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอ ผู้ถือหุ้นสามารถนำส่งข้อเสนอมายังบริษัทล่วงหน้าก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นตามรูปแบบและวิธีการที่บริษัทกำหนดในส่วนของวาระการประชุมนั้น คณะกรรมการจะพิจารณาความเหมาะสมในการบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น สำหรับข้อเสนอเกี่ยวกับบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะพิจารณาและเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเสนอผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นต่อไป สำหรับเรื่องที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และ/หรือ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัทจะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบพร้อมชี้แจงเหตุผลในการประชุมผู้ถือหุ้นบนเว็บไซต์ของบริษัท หรือช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลที่เหมาะสมต่อไปสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 นั้น บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีสิทธิเสนอเพิ่มระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อบุคคลผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการเป็นการล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2562 โดยบริษัทฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์บริษัทให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงสิทธิและวิธีการเสนอเพิ่มวาระ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเสนอเพิ่มวาระเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาได้ว่าจะบรรจุ หรือ ไม่บรรจุเป็นวาระในหนังสือนัดประชุม และวิธีการเสนอชื่อบุคคลผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการต่อคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อพิจารณาคัดเลือกและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัท โดยบริษัทฯ ได้แจ้งการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์บริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าไม่มีผู้ถือหุ้นเสนอเพิ่มระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและเสนอชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการแต่อย่างใด
  • การแจ้งรายละเอียดการประชุมและเอกสารการประชุม
    บริษัทฯ จัดทำเอกสารการประชุมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเปิดเผยให้นักลงทุนทราบเป็นการทั่วไปล่วงหน้าก่อนการประชุม โดยแจ้งการเปิดเผยให้ทราบผ่านช่องทางเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดเผยข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาศึกษาข้อมูลประกอบการประชุมล่วงหน้าอย่างเพียงพอ ในขณะที่บริษัทจะดำเนินการจัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ 14 วัน ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ รายละเอียดที่ปรากฎบนเว็บไซต์ และในเอกสารที่จัดส่งให้ผู้ถือหุ้น เป็นข้อมูลเดียวกันประกอบด้วย (1) หนังสือเชิญประชุม (2) ข้อปฏิบัติในการเข้าประชุม (3) ประวัติกรรมการอิสระที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้รับมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น (4) ข้อบังคับบริษัท ในหมวดเรื่องการประชุมผู้ถือหุ้น กรรมการ (ว่าด้วยเรื่องจำนวน การเลือกตั้ง และวาระของกรรมการ) และเงินปันผล (5) วาระการประชุม (6) รายงานประจำปปี (7) แบบหนังสือมอบฉันทะ (8) แผนที่สถานที่ประชุม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังลงประกาศบอกกล่าวการนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 3 วันติดต่อกันล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วันด้วย ทั้งนี้ รายละเอียดวาระการประชุมระบุชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณาแล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในวาระการประชุมดังกล่าวสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 บริษัทฯ ได้แจ้งวาระการประชุมผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 และเปิดเผยเอกสารการประชุมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้นักลงทุนทราบเป็นการทั่วไปผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ตั้งแต่ วันที่ 27 มีนาคม 2563 และวันที่ 8 เมษายน 2563 ตามลำดับ ในขณะที่จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมทั้งเอกสารการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2563 ซึ่งล่วงหน้าก่อนวันประชุม เป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • การเข้าร่วมประชุม
    บริษัทฯ จัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบเอกสารของผู้ถือหุ้นหรอืผู้รับมอบฉันทะที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมตามรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารหรือหลักฐานแสดงความเป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมเพื่อรักษาสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนเข้าประชุมล่วงหน้าได้ก่อนการประชุมอย่างเพียงพอ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการลงทะเบียนพร้อมทั้งจัดพิมพ์บัตรลงคะแนนในแต่ละวาระให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย ส่งผลให้การลงทะเบียนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และถูกต้อง นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นยังสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิออกเสียงในวาระที่ยังมิได้ลงคะแนนได้อีกด้วย สำหรับผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง และมีความประสงค์จะมอบฉันทะให้บุคคลอื่น รวมถึง ผู้บริหารหรือกรรมการของบริษัทเข้าประชุมแทนนั้น บริษัทฯ ได้เสนอชื่อกรรมการอิสระมากกว่า 1 ราย พร้อมประวัติให้ผู้ถือหุ้นพิจารณา โดยบริษัทฯ ได้แนบหนังสือมอบฉันทะ แบบ ข. ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้ อีกทั้ง สามารถออกเสียงลงคะแนนล่วงหน้าในหนังสือลงทะเบียนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนซึ่งนำส่งให้ผู้ถือหุ้นไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามารถดาวน์โหลดหนังสือมอบฉันทะประเภทอื่นๆ และหนังสือลงทะเบียนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 บริษัทฯ ได้เสนอชื่อกรรมการอิสระพร้อมประวัติ ให้ผู้ถือหุ้นพิจารณามอบฉันทะ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ประธานคณะกรรมการ ประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และกรรมการตรวจสอบ
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามและแสดงความคิดเห็น
    ก่อนวันประชุม บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามเกี่ยวกับบริษัท และวาระการประชุมเพื่อให้คณะกรรมการและฝ่ายบริหารชี้แจงในวันประชุมผ่านทางโทรสารและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึงหน่วยงานเลขานุการบริษัทเป็นการล่วงหน้า ในวันประชุมผู้ถือหุ้น ประธานที่ประชุมจะจัดสรรเวลาให้เหมาะสมและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นและสอบถามต่อที่ประชุมตามระเบียบวาระการประชุมและเรื่องที่เสนอ บริษัทฯ จะดำเนินการอย่างดีที่สุดให้กรรมการทุกราย ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทและบริษัทย่อย รวมทั้งผู้สอบบัญชี เข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อชี้แจงข้อซักถามโดยกรรมการและผู้บริหารจะอธิบายและชี้แจงเหตุผลอย่างตรงประเด็นจนเป็นที่กระจ่างในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 กรรมการบริษัทเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวน 8 ท่าน คิดเป้นร้อยละ 100.00 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด 8 ท่าน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ และผู้สอบบัญชี
  • การดำเนินการประชุมและออกเสียงลงคะแนน
    ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะพิจารณาระเบียบวาระตามลำดับที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติให้เปลี่ยนลำดับระเบียบวาระด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มาประชุมผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดจะขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในหนังสือนัดประชุมก็ได้ โดยก่อนเริ่มพิจารณาระเบียบวาระต่างๆ จะมีการแจ้งจำนวน และสัดส่วนผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะที่เข้าร่วมประชุม รวมทั้งแจ้งให้ผู้ถือหุ้นที่มาประชุมด้วยตนเอง หรือมีผู้แทนรับมอบฉันทะให้มาร่วมประชุมมีสิทธิออกเสียง 1 เสียงต่อ 1 หุ้น สำหรับการออกเสียงลงคะแนน บริษัทฯ ได้นำบัตรลงคะแนนมาใช้ในการออกเสียงในทุกวาระรวมทั้งวาระการพิจารณาเลือกตั้งกรรมการเพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้และเพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันมากที่สุด ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้มีบุคคลภายนอกทำหน้าที่ดูแลให้การประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปด้วยความโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจนับคะแนน จะประกาศผลการลงคะแนนในแต่ละวาระต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยระบุผลการลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นที่ลงมติ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียงสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ โดยเรียงตามระเบียบวาระการประชุมที่ระบุไว้ในหนังสือประชุม และไม่มีการเพิ่มหรือลับลำดับวาระการประชุม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญโดยไม่แจ้งผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า นอกจากนี้  บริษัทณ ได้มอบหมายให้ บริษัท สำนักกฎหมายสากล ธีรคุปต์ จำกัด เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลให้การประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปอย่างโปร่งใสถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ โดย บริษัท สำนักกฎหมายสากล ธีรคุปต์ จำกัด ได้จัดเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าสังเกตุการณ์ในการลงทะเบียบและการนับคะแนนเสียงตลอดการประชุมสำหรับผลของการประชุมผู้ถือหุ้นนั้น บริษัทฯ ได้แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยทันทีภายในวันประชุม หรือช่วงเวลาก่อนเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์รอบเช้าอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงของวันทำการถัดไปเพื่อให้นักลงทุนทราบโดยทั่วกัน และจัดทำรายงานการประชุมที่มีสาระสำคัญครบถ้วน โดยมีการบันทึกคำชี้แจงที่เป็นสาระสำคัญ คำถาม และความคิดเห็นต่างๆ และมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้น แยกเป็นคะแนนที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง ซึ่งบริษัทฯ ได้เผยแพร่รายงานดังกล่าวในเว็บไซต์ของบริษัท และนำส่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งจัดเก็บรายงานการประชุมไว้ ณ สำนักงานใหญ่ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้บันทึกเหตุการณ์การประชุมผู้ถือหุ้น และเผยแพร่แก่ผู้ถือหุ้นทางเว็บไซต์ของบริษัทฯในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 บริษัทฯ ได้แต้งมติที่ประชุมผ่านทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันประชุม และเผยแพร่รายงานการประชุมในวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ซึ่งสอดคล้องกับระยะยเวลาที่กำหนดไว้ใรวรรคก่อนในด้านมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทฯ กำหนดแนวทางการปฏิบัติของพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตยุติธรรม ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ และไม่ให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ส่วนตนเหนือความรับผิดชอบที่มีต่อบริษัท รวมถึงไม่นำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน บริษัทฯ กำหรให้กรรมการ ผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับผู้บริหาร 4 รายแรก นับต่อจากผู้บริหารสูงสุดลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งสูงกว่าหรือเทียบเท่าผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน จะต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัท ที่ตนเองรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องถือเมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังห้ามผู้บริหารระดับสูง พนักงาน และผู้มีส่วนรับรู้ข้อมูลภายใน ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 30 วันก่อนวันของเดือนสุดท้ายของไตรมาส จนถึง 1 วันถัดจากวันประกาศงบการเงินของบริษัทฯ ทั้งยังห้ามกรรมการให้ข่าวที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลาเดียวกันด้วยกรรกการ ผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรก นับต่อจากผู้บริหารสูงสุดลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งสูงกว่าหรือเทียบเท่าผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน รวมถึงคู่สมรส หรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องรายงานการถือหรือการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยกรรมการจะต้องรายงานการถือหุ้นของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการทราบทุกสิ้นไตรมาส
บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรมตามสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งตามกฎหมาย บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนากระบวนการบริการที่มีคุณภาพและตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง ตลาดจนสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

1. ผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ มุ่งมั่นพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐานและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นยังได้รับประโยชน์โดยอ้อมากความไว้วางในที่เป็นผลจากการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมของบริษัทต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่น ซึ่งช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทกับคู่ค่า และมีส่วนสำคัญในการเพิ่มพูนความมั่นคงของผู้ถือหุ้นในระยะยาง พร้อมกับทำให้บริษัทมีความมั่นคงทางการเงินและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2. พนักงาน
บริษัทฯ ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเป็นธรรมและให้เกียรติเสมอ ทั้งที่เป็นพนักงานประจำและพนักงานสัญญาจ้าง พนักงานได้รับค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม เป็นไปตามระบบประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเท่าเทียมกัน และได้รับการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน รวมถึงสวัสดิการด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่ดีในสถานที่ทำงาน รวมถึงการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานไว้เป็นความลับและไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานไปหาประโยชน์โดยมิชอบ

3. ลูกค้า
บริษัทฯ มุ่งมั่นรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยั่งยืน และยึดมั่นต่อหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาที่ให้กับลูกค้าโดยส่งมอบบริการที่เหมาะสมอย่างมืออาชีพ และมีประสิทธิภาพต่อลูกค้า ด้วยจรรยาบรรณและมาตรฐานอันสูงสุด โดยปราศจากการเรียกรับหรือให้สินบนหรือสิ่งตอบแทนในลักษณที่ไม่ถูกต้องในทุกรูปแบ

4. คู่ค้าและเจ้าหนี้
บริษัทฯ ปฏิบัติกับคู่ค้าและเจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและซื่อสัตย์สุจริตโดยเคารพเงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันในการดำเนินการค้าร่วมกับคู่ค้าและเจ้าหนี้ บริษัทฯ จะปฏิบัติตามนโยบายของแนวร่วมปฏิบัติเพื่อการต่อต้านการทุจริตในภาคเอกชน (Collective Action Coalition )

5. คู่แข่ง
บริษัทฯ งดการกล่าวโจมตีหรือการกระทำใดๆ ต่อคู่แข่ง อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพในการแข่งขันที่เป็นธรรมและซื่อสัตย์สุจริต โดยทำงานภายในกรอบของกฎระเบียบของการแข่งขันทางการค้าที่เกี่ยวข้องและละเว้นจากการกระทำที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์ นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างเสรีและไม่ถูกขัดขวางในการเปลี่ยนไปใช้บริการกับคู่แข่งจนเกินพอดี หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการที่เหมาะสมในการระงับหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

6. สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการริเริ่มพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรม และปฏิบัติตามกฎหมาย และ/หรือ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดูแลป้องกันให้มีการดำเนินงานของบริษัทก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม สร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับชุมชนที่สถานประกอบการของบริษัทตั้งอยู่ สนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมอย่างสม่ำเสมอนอกเหนือจากการที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน หรือเสนอเรื่องสำคัญอื่นๆ ได้โดยตรงต่อกรรมการอิสระ หรือคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียยิ่งขึ้น บริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางติดต่อที่หลากหลาย อาทิ ทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ของบริษัท อีเมล์ หรือการส่งจดหมาย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน หรือเสนอเรื่องสำคัญอื่นๆ ต่อบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นจัดให้หน่วยงานเลขานุการบริษัท /นักลงทุนสัมพันธ์รับผิดชอบในการรับความคิดเห็น ข้อร้องเรียนต่างๆ จากผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ขณะที่หน่วยงานทรัพยากรบุคคลรับผิดชอบในการรับข้อคิดเห็นและเรื่องราวร้องทุกข์จากพนักงาน นอกจากนี้หน่วยงานเลขานุการบริษัทยังรับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน หรือเรื่องสำคัญอื่นๆ เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ และกฎระเบียบ ตลอดจนการกำกับดูแลต่างๆ หน่วยงานเหล่านี้จะเป็นผู้คัดกรองและรายงานเรื่องที่มีความสำคัญไปยังหน่วยงานรับข้อร้องเรียน และ/หรือ ทีมงานรับข้อร้องเรียน (EI) ซึ่งดำเนินการแก้ไขปัญหา และ/หรือ รายงานต่อไปยังคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาความเหมาะสม โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะรายงานเรื่องที่มีนัยสำคัญไปยังคณะกรรมการเพื่อทราบต่อไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำแนวนโยบายการแจ้งเบาะแสและวิธีปฏิบัติต่อข้อร้องเรียนของลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ อย่างชัดเจน เพื่อรักษาสิทธิ รวมถึงคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ร้องเรียน โดยผู้ร้องเรียนดังกล่าวจะได้รับคุ้มคาองและเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ

นโยบายการรับแจ้งเบาะแส หรือ รับข้อร้องเรียน
เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจขององค์กรอย่างโปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม บริษัทฯ มีการกำหนดนโยบายการรับแจ้งเบาะแส หรือ รับข้อร้องเรียน ที่ผ่านการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท นโยบายฯ มีการกำหนดกระบวนการรับแจ้งเบาะแสและช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนสำหรับพนักงานและบุคคลภายนอก เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและส่งเสริมให้มีการรายงานและแก้ไขปัญหากรณีที่พบเห็ยรายการผิดปกติของการปฏิบัติงานที่เข้าข่าวเป็นการกระทำทุจริต การกระทำผิดกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ขององค์กร รวมถึงการประพฤติมิชอบใดๆ ทั้งสิ้น

บริษัทฯ จัดให้มีช่องทางสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในการแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียนหรือการแจ้งความผิดปกติของการปฏิบัติงานหรือความประพฤติมิชอบ รวมถึงการกระทำที่ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจขององค์กร ซึ่งสามาถแจ้งโดยส่งหนังสือมายังประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือส่งมาที่เลขานุการบริษัท เลขที่ 88/8 ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ช่องทางดังกล่าวมีการสื่อสารและแจ้งให้บุคคลภายนอกรับทราบผ่านเว็บไซต์ขององค์กร

สำหรับพนักงาน บริษัทฯ มีการกำหนดช่องทางในการรับแจ้งเรื่องที่พนักงานประสงค์จะร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสกรณีที่พบรายการผิดปกติเกี่ยวกับการปฏิบัติงานใดๆ ที่เข้าข่ายเป็นการประพฤติมิชอบ ผ่านทีมงานรับข้อร้องเรียน (EI) ช่องทางดังกล่าวมีการสื่อสารผ่านอินทราเน็ตขององค์กร กระบวนการจัดการกับเรื่องทีพนักงานร้องเรียนนั้น จะมีการพิจารณาและตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเรื่องที่กระทำผิดหรือไม่ กรณีที่ตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิด จะมีการลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท

บริษัทฯ มีนโยบายคุ้มครองสิทธิของผู้แจ้งเบาะแส กำหนดการรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียนเป็นความลับและเปิดเผยเฉพาะเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ ในปี 2563 ไม่พบข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย การทุจริตคอร์รัปชัน หรือจรรยาบรรณธุรกิจที่มีนัยสำคัญ

ช่องทางการรับข้อร้องเรียน

สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต ผ่านช่องทางต่างๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ดังนี้

ช่องทางที่ 1  ประธานกรรมการบริษัท ประธานกรรมการตรวจสอบ

ช่องทางที่ 2  ผู้บังคัญบัญชาที่ตนเองไว้วางในในทุกระดับ

ช่องทางที่ 3  Website  : www.wice.co.th (หัวข้อ : นักลงทุนสัมพันธ์ / สอบถามข้อมูลนักลงทุน / การแจ้งเบาะแส)

หรือ (หัวข้อ : ติดต่อเรา /ร้องเรียน)

ช่องทางที่ 4  ทาง E-mail : ประธานกรรมการตรวจสอบ [email protected]

ช่องทางที่ 5  ทางโทรศัพท์ : 02 681 6181 ต่อ 3501

ช่องทางที่ 6  ส่งจดหมายถึง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (ซึ่งเป็นกรรมการอิสระ) ตามที่อยู่ดังนี้

บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)

88/8 อาคารWICE PLACE ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานาวา กรุงเทพมหานคร 10120

*กรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง หรือกรรมการบริษัทฯ ให้แจ้งเรื่องโดยตรงต่อประธานกรรมการตรวจสอบ

การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

บริษัทฯ มีการวางระบบเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่นมีสิทธิที่จะได้รับการเปิดเผยข้อมูลที่มีสาระสำคัญอย่างครบถ้วนและในเวลาที่เหมาะสม รวมถึงการรายงานทางการเงินทุกไตรมาส คำอธิบายและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินอื่นที่สำคัญ ไม่ว่าจะโดยข้อกำหนดที่บังคับหรือบนพื้นฐานความสมัครใจ

การเปิดเผยข้อมูลจะเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ การแถลงข่าว และช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

บริษัทฯ ได้แจ้งผลโดยละเอียดทั้งหมดของการออกเสียงลงคะแนนในระหว่างการประชุมสามัญประจำปี หรือการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นผ่านทางเว็บไซต์ในวันทำการถัดไปหลังการประชุม

บริษัทฯ จัดทำรายงานต่างๆ เพื่อนำส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ต่อสาธารณชนบนพื้นฐานของความเป็นธรรมและง่ายต่อการเข้าใจ โดยคณะกรรมการมีหน้าที่จัดทำรายงานอธิบายถึงผลการดำเนินงานและเหตุการณ์สำคัญในรอบปีให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบ และรับผิดชอบต่อการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในซึ่งการประเมินเบื้องต้นดำเนินการโดยฝ่ายบริหาร โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้สอบทานก่อนที่คณะกรรมการจะอนุมัติการประเมินเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในด้านการรับรองความถูกต้องของรายงานทางการเงิน คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานรายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยให้ได้รับการจัดทำอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และมีเปิดเผยข้อมูลความโปร่งใสเพียงพอต่อผู้ลงทุนในการตัดสินใจลงทุน กล่าวโดยสรุป คณะกรรมการเป็นผู้จัดทำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน และคณะกรรมการตรวจสอบจะออกรานงานเมื่อมีประเด้นการตรวจสอบควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชี โดยรายงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานของผู้สอบบัญชี จะรวบรวมไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี ตลอดจนรายงานความยั่งยืน ซึ่งจะสะท้อนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าแก่กิจการอย่างยั่งยืน

บริษัทฯ มอบหมายให้เลขานุการบริษัท ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลขององค์กร ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทั่วไปให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุน และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเว็บไซต์ของบริษัทในหัวข้อ “นักลงทุนสัมพันธ์” เพื่อให้ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้โดยสะดวก นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเผยแพร่และชี้แจงข้อมูล รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซักถามข้อมูลอย่างโปร่งใส โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมการชี้แจงด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าวรวมถึงการประชุมนักวิเคราะห์เพื่อชี้แจงผลประกอบการรายไตรมาส (Quarterly Analyst Meeting) การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน (Press Conference) การให้ข้อมูลแบบตัวต่อตัวแกนักลงทุนและนักวิเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทางออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19 ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงได้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับงานนักลงทุนสัมพันธ์ ในปี 2563 สรุปได้ดังนี้

1. การประชุมนักวิเคราะห์เพื่อชี้แจงผลประกอบการรายไตรมาส (Quarterly Analyst Meeting) จำนวน 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 30 คน

2. การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน (Press Conference) จำนวน 1 ครั้ง ในแต่ละครั้ง มีสื่อมวลชนเข้าร่วมประมาณ 25 คน

3. การเข้าร่วมกิจกรรมการ “บริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน” (“SET Opportunity Day) ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีนักวิเคราะห์และนักลงทุนเข้าร่วมประมาณ 20 คน

4. การเข้าพบและให้ข้อมูล (Company Visit) จำนวน 4 ครั้ง และการประชุมทางโทรศัพท์ รวมถึงสัมภาษณ์ (Conference Call) จำนวน 21 ครั้ง แก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ได้ที่

ที่อยู่        : เลขที่ 88/8 อาคารWICE PLACE ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์   : 02-681-6181

โทรสาร    : 02-681-6123

อีเมล       : [email protected] , [email protected]

เว็บไซต์    : www.wice.co.th

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

คณะกรรมการได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น ให้มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท ซึ่งรวมถึงการสั่งการ อนุมัติ และดูแลการดำเนินการตามกลยุทธิ์ของบริษัทฯ ตลอดจนการกำกับดูแลกิจการ และค่านิยมองค์กร คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกประธษนเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพและดูแลให้มีการสืบทอดตำแหน่งงาน นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีหน้าที่กำกับดูแลคณะผู้บริหารและมีความรับผิดชอบสูงสุดในการดูแลกลยุทธ์ความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงิน รวมถึงวิธีที่บริษัทจัดโครงสร้างองค์กรและกำกับดูแลตนเอง

จากความรับผิดชอยดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จึงมีนโยบายในการคัดเลือดคณะกรรมการ ทั้งในระดับตัวบุคคลและระดับองค์คณะที่มีประสบการณ์เหมาะสมและหลากหลาย ประกอบไปด้วยคุณลักษณะและความสามารถที่จำเป็น อาทิ เช่น  ความซื่อสัตย์ สุจริต ความเป็นมืออาชีพ และความสามารถในการซักถามทำความเข้าใจเชิงวิเคราะห์ต่อธุรกิจของบริษัทอย่างเป็นอิสระ

โครงสร้างคณะกรรมการ
บริษัทฯ กำหนดโครงสร้างและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักเกณฑ์การสรรหากรรมการ ตลอดจนสัดส่วนของกรรมการอิสระ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร และกรรมการตัวแทนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการมีความเหมาะสม

คณะกรรมการได้รับการคัดเลือกโดยพิจารณาจากความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาก ความซื่อสัตย์ ความสามารถในการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ ความเข้าใจในธุรกิจ และสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทฯ โดยมีการกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการที่เหมาะสมและแนวปฏิบัติเบื้องต้นว่าด้วยสัดส่วนของกรรมการอิสระ กรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมบริหารงาน กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน และกรรมการจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อให้องค์คณะของคณะกรรมการมีความเหมาะสม ทั้งนี้ กรรมการแต่ละท่านมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี คณะกรรมการของบริษัทจะได้รับการเลือกตั้งใหม่ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีทุกครั้ง โดยกำหนดไว้ชัดเจนในข้อบังคับของแต่ละบริษัท เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นๆ

เพื่อให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงสามารถอุทิศเวลาในการบริหารจัดการบริษัทได้อย่างเต็มที่ จึงกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งในบริษัทอื่นได้ไม่เกิน 5 บริษัท และดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่เกิน 5 บริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ กรรมการและผู้บริหารควรหลีกเลี่ยงการรับตำแหน่งหรืองานใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท

นอกเหนือจากการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการไม่เป็นผู้บริหารระดับสูงแล้ว ประธานคณะกรรมการยังมีสถานะเป็นกรรมการอิสระ และ/หรือกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมบริหารวาน เพื่อให้มั่นใจว่ามีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจระหว่างคณะกรรมการและผู้บริหารอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ประธานคณะกรรมการจะไม่เป็นสมาชิกในคณะกรรมการชุดย่อยใดๆ เพื่อให้คณะกรรมการชุดย่อยสามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ รวมถึงประธานคณะกรรมการตรวจสอบต้องไม่เป็นประธานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร อีกด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการได้แบ่งแยกบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการออกจากคณะผู้บริหารอย่างชัดเจน เพื่อการถ่วงดุลอำนาจและป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จ เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้บริหารสูงสุดจะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน และแบ่งแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะด้านของคณะกรรมการ คณะกรรมการจึงแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยคณะต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอนแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะมีโครงสร้างและหลักเกณฑ์ด้านองค์ประกอบและการสรรหา ตลอดจนกฎบัตรซึ่งระบุขอบเขต หน้าที่ และแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม

บริษัทฯ ได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการติดตามให้มีการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ จัดการประชุมคณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงการจัดทำหนังสือเชิญประชุม รายงานการประชุม และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูง จัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของตนเองและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องส่งให้เลขานุการบริษัท เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ซึ่งเลขานุการบริษัทมีหน้าที่จัดเก็บและจัดทำรายงานความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแจ้งไปยังประธานคณะกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการมีบทบาทหลัก 2 ด้าน ได้แก่ บทบาทด้านผลการดำเนินงาน และบทบาทด้านการกำกับดูแลกิจการ แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ของบริษัท ตลอดจนติดตาม ดูแล และควบคุมการบริหารงานของบริษัทเพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายสำคัญต่างๆ ของบริษัทได้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อมาตรฐานจรรยาบรรณสูงสุด

(1) บทบาทด้านผลการดำเนินงาน – กำหนดนโยบายและกลยุทธ์

คณะกรรมการต้องจัดให้มีแผนกลยุทธ์ระยะยาว ที่สะท้อนถึงแนวคิดและวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท ส่วนแผนธุรกิจระยะสั้น ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้ เพื่อให้ฝ่ายจัดการจะสามารถนำไปปฏิบัติและประเมินผลได้อย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการอนุมัติแผนธุรกิจและงบประมาณของบริษัท ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาและทบทวนจากคณะกรรมการบริหารแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานและการทำประมาณการโดยฝ่ายจัดการในแต่ละปี แผนการปฏิบัติงานจะครอบคลุมถึงตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานและเป้าหมายทางธุรกิจซึ่งในกรณีที่การดำเนินงานต่างไปจากแผนที่กำหนดจะต้องมีการติดตามและวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผล และรายงานการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโดยฝ่ายจัดการต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอจะช่วยบ่งชี้ถึงความคลาดเคลื่อนของผลการปฏิบัติงานจากแผนที่ได้กำหนดไว้ เพื่อดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

คณะกรรมการจะกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงานเพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการดำเนินธุรกิจตามที่ได้รับมอบหมาย การบริหารทรัพยากรบุคคล การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน การตรวจสอบและการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ระยะยาว และระยะสั้นของบริษัทฯ ฝ่ายจัดการจะจัดเตรียมและนำเสนอนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อให้คณะกรรมการอนุมัติ โดยคณะกรรมการจะต้องดูแลให้นโยบายและแนวปฏิบัติเป็นไปตามหลักการดำเนินธุรกิจของบริษัท นโยบายดังกล่าวช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถตัดสินใจดำเนินการได้ในสถานการณ์ต่างๆ เป็นการจำกัดความผิดพลาดที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นผลจากการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง

นโยบายจะต้องครอบคลุมกิจกรรมหลักทั้งหมดของบริษัท และจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมได้เพื่อรองรับแนวปฏิบัติใหม่หรือที่มีการปรับปรุง และสถานการณ์ของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดทำนโยบายที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อังษรสามารถป้องกันการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ บริษัทจะทำธุรกรรมใหม่ได้ต่อเมื่อมีการจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องรองรับแล้วเท่านั้น โดยคณะกรรมการควรจัดให้มีวิธีการประเมินผล และการรายงานกิจกรรมเสี่ยงที่เหมาะสม

ในการปฏิบัติตามนโยบายนั้นต้องมีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ชัดเจนโดยมีการสื่อสารมาตรฐานดังกล่าวให้พนักงานทุกระดับของบริษัทฯ ทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้จะต้องมีแหล่งของข้อมูลอ้างอิงเพียงแหล่งเดียวเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด คณะกรรมการได้จัดให้มีมาตรฐานในการทบทวนปรับปรุงนโยบายเป็นครั้งคราวเพื่อให้นโยบายมีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ในทุกระยะดังที่กล่าวข้างต้น

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ ไม่มีนโยบายสนับสนุนให้มีการทำรายการกับบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงกัน หรือการทำรายการซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ หากเกิดรายการดังกล่าวคณะกรรมการตรวจสอบจะพิจารณารายการดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยจะรายงาน และ/หรือ นำเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติแล้วแต่กรณี บริษัทฯ จะพิจารณารายการดังกล่าวเสมือนการทำรายการปกติการค้าทั่วไป บุคคที่เข้าข่ายที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะไม่มีสิทธิในการอนุมัติกาเข้าทำรายการดังกล่าว

(2) บทบาทด้านการกำกับดูแลกิจการ – การดูแลควบคุม ติดตามประเมินผล และความรับผิดชอบต่อผลงานในหน้าที่

แม้ว่าคณะกรรมการจะมอบหมายหน้าที่ที่สำคัญส่วนใหญ่ รวมทั้งการบริหารงานประจำวันให้แก่ ฝ่ายจัดการแล้วก็ตามคณะกรรมการยังคงมีความรับผิดชอบในการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานของบริษัทเพื่อการปฏิบัติตามบทบาทด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้ครบถ้วน คณะกรรมการควรรับทราบถึงสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของบริษัทตลอดเวลารวมทั้งปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกที่อาจมีผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โครงสร้างของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ กรรมการควรตระหนักถึงภาระความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ และควรดูแลให้บริษัทฯ มีนโยบายและวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการดำเนินงานของบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

ฝ่ายจัดการทำรายงานและนำเสนอให้แก่คณะกรรมการ โดยแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานะ และผลประกอบการด้านต่างๆ อาทิ ข้อมูลทางการเงิน การบริหารความเสี่ยงของลูกหนี้ สภาพคล่อง สภาวะและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การลงทุน สินทรัพย์และหนี้สิน และการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ เป็นเครื่องมือสำคัญที่คณะกรรมการจะใช้ในการทำหน้าที่สอดส่องดูแลการดำเนินงานของบริษัท คณะกรรมการควรพิจารณารายงานและข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นด้วยความรอบคอบ และระมัดระวังเพื่อให้ทราบถึงสัญญาณเตือนในด้านต่างๆ เช่น ผลประกอบการที่ถดถอย ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น การใช้อำนาจในลักษณะที่ไม่ถูกต้องของฝ่ายจัดการ ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบควบคุม การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบรวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของรายงานดังกล่าว

สำหรับหน้าที่ในการดูแลการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการควรดูแลให้แน่ใจว่าฝ่ายจัดการทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงงอย่างมีระบบและมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอในการกำหนดตัวชี้วัดความเสี่ยงวิธีการประเมินความเสี่ยง กระบวนการสอบทานและควบคุมความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการควรให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน คณะกรรมการมีการประเมินตนเองเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเปิดโอกาสให้กรรมการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและยกประเด็นปัญหาต่างๆ ขึ้นหาหรือ (ถ้ามี) โดยการประเมินจะดำเนินการอย่างมีระบบทั้งในส่วนขององค์คณะ และตัวบุคคลด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นผู้พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการประเมินต่อคณะกรรมการเพื่ออนุมัติ

การประเมินการปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินความเหมาะสมของโครงสร้างคณะกรรมการ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคณะกรรมการจะวิเคราะห์ผลการประเมิน ข้อเสนอแนะ ข้อควรสังเกตต่างๆ เพื่อนำมาพิจารณาใช้ปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการดำเนินธุรกิจต่อไป

สำหรับการประเมินตนเองของคณะกรรมการประจำปี 2563 เลขานุการบริษัทได้จัดให้มีการประเมินตนเองของคณะกรรมการ จัดทำเป็น 2 ลักษณะ คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองของคณะกรรมการทั้งคณะ และการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล ซึ่งพิจารณาและอนุมัติโดยคณะกรรมการ

เลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการให้แก่คณะกรรมการ จากนั้น คณะกรรมการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยส่งกลับมาที่เลขานุการบริษัท เพื่อรวบรวมและประเมินผล

เลขานุการบริษัท สรุปผลการประเมินนำเสนอรายงานผลการประเมินต่อที่ประชุมคณะกรรมการในที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

โดยสรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการประจำปี 2563

1. การประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองของคณะกรรมการทั้งคณะ ประเด็นคำถามประกอบด้วย 6 หมวดหลัก ได้แก่ 1) โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 2) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 3) การประชุมคณะกรรมการ 4) การทำหน้าที่ของกรรมการ 5) ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ 6) การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร โดยกรรมการที่ทำการประเมิน คือ กรรมการที่ดำรงตำแหน่งในช่วงเวลาประเมินผล ณ เดือนธันวาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 8 คน

สรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองของคณะกรรมการทั้งคณะ มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 93.39

 

2. การประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล ประเด็นคำถามประกอบด้วย 3 หมวดหลัก ได้แก่ 1) โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 2) การประชุมของคณะกรรมการ 3) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

สรุปผลการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 81.82

 

ในปี 2563 บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยทุกชุด ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร ซึ่งได้ดำเนินการเป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน และเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 โดยสรุปผลการประเมินประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองของคณะกรรมการชุดย่อย คือ

–  คณะกรรมการตรวจสอบ                                      มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 79.17

–  คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน       มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 79.39

–  คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร                  มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 92.66

ค่าตอบแทน

เพื่อให้การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการมีความโปร่งใสและเหมาะสมกับหน้าที่รับผิดชอบ คณะกรรมการจึงมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนกำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและโปร่งใส โดยค่าตอบแทนดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายนั้น คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะนำเสนอผลการพิจารณาต่อที่ประชุมคณะกรรมการหรือประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการต่อไป ทั้งนี้ ค่าตอบแทนดังกล่าวจะต้องไม่สูงเกินความจำเป็นและสามารถเทียบเคียงได้กับอัตราทั่วไปของธุรกิจเดียวกัน โดยพิจารณาจากประสบการณ์ ความชำนาญ ความตั้งใจและทุ่มเทในการปฏิบัติงาน ประกอบกับผลงานหรือประโยชน์ที่กรรมการรายนั้นทำให้แก่บริษัท

การพัฒนากรรมการ
คณะกรรมการสนับสนุนให้กรรมการเข้ารับการศึกษาและอบรมในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ โดยดำเนินการให้กรรมการทุกท่านเป็นสมาชิกของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย รวมทั้งมีเลขานุการบริษัทเป็นสื่อกลางในการติดตามดูแลข่าวสารในด้านต่างๆ รวมถึงสนับสนุนการเข้าอบรมหลักสูตรและการอบรมที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัทจดทะเบียนเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ บริษัทณ จะแจ้งกำหนดการอบรมหลักสูตรต่างๆ ให้กรรมการทราบล่วงหน้าอย่างสม่ำเสมอ

กรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ บริษัทฯ จะจัดให้มีการปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้กรรมการใหม่มีความเข้าใจในธุรกิจ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ โดยส่งมอบคู่มือกรรมการ นโยบาย และแนวปฏิบัติของการกำกับดูแลกิจการของบริษัทให้แก่กรรมการ

ทั้งนี้ กรรมการทุกท่านได้รับการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการแล้ว และในปี 2563 กรรมการที่เข้าอบรมและสัมมนาอื่น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ้น 5 ท่าน จาก 8 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ของคณะกรรมการทั้งคณะ

การประเมินผลงานประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนทำหน้าที่จัดเตรียมและนำเสนอแนวทางการประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยแนวทางการประเมินดังกล่าวจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนที่จะทำการประเมิน โดยการประเมินจะแบ่งออกเป็น หมวดที่ 1 ความคืบหน้าของแผนงาน หมวดที่ 2 การวัดผลการปฏิบัติงาน และ หมวดที่ 3 การพัฒนาของCEO เป็นสำคัญ

แผนการกำหนดผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)
บริษัทฯ ได้มีการกำหนดผู้สือทอดตำแหน่งงานที่สำคัญไว้ครบทุกตำแหน่ง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนดำเนินการดูแลให้มีการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งของผู้บริหารสูงสุดของบริษัท และทบทวนแผนดังกล่าวเป็นระยะเพื่อความเหมาะสม สำหรับงานในตำแหน่งบริหาร ฝ่ายบริหารร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะเป็นผู้พิจารณาและประเมินผู้สืบทอดตำแหน่ง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนพิจารณาอนุมัติ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น คุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ของแต่ละตำแหน่งงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายเหมาะสมที่สามารถสืบทอในแต่ละตำแหน่งงาน

ความซื่อสัตย์และจริยธรรม

ความซื่อสัตย์และจริยธรรมเป็นรากฐานทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัทณ ตั้งแต่แรก ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียเชื่อมั่นว่าบริษัทและพนักงานจะประพฤติปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบด้วยมาตรฐานอันสูงสุด พนักงานจะได้รับการปลูกฝังให้ยึดมั่นในคุณค่า เช่น ความเอาใจใส่ ความเชื่อถือได้ ความซื่อสัตย์สุจริต ความจงรักภักดี ความมีวุฒิภาวะ ความเที่ยงธรรม ความเคาระนับถือ ความไว้วางใจ แบะความเป็นมืออาชีพ บริษัทฯ ถือว่าความซื่อสัตย์และจริยธรรมเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นพนักงาน

กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คณะผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานอันสูงสุดของบริษัท ในเรื่องความซื่อสัตย์และจริยธรรมซึ่งรวมถึง

  • การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
  • ความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะต้องได้รับการเปิดเผยและจัดการอย่างเหมาะสมให้มั่นใจว่าบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างมีสาระสำคัญไม่มีส่วนในกระบวนการตักสินใจในเรื่องนั้น
  • ไม่อนุญาตให้พนักงานรับหรือเสนอ เงินสด ของขวัญที่มีมูลค่า หรือผลตอบแทนอื่นใด ซึ่งอาจจะถูกตีความว่าเป็นการรับหรือให้สินบน

ประเด็นด้านจริยธรรมจะต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส