นโยบายบริหารความเสี่ยง

นโยบายบริหารความเสี่ยง

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการบริหารความเสี่ยงควบคู่ไปกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้การเติบโตของบริษัทฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และเป้าหมายหลักขององค์กร ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งครอบคลุมถึง การบริหารความเสี่ยงด้าน คุณภาพ ความมั่งคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยของพนักงาน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานการดำเนินงาน คู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดของประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปทำธุรกิจหรือมีการลงทุน ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การต่อต้านการทุจริจ คอร์รัปชัน ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม สอดรับกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) การบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านนวัตกรรม รวมทั้งความเสี่ยงเกิดใหม่ในอนาคตที่อาจจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงเป้าหมายผลการดำเนินงานและการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ ให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร เพื่อลดโอกาสและความเสี่ยงหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยง และ/หรือการให้ได้มาซึ่งโอกาสทางธุรกิจ ที่จะสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน

กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร

บริษัทฯ มีการกำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยอ้างอิงมาตรฐานสากล COSO ERM 2017 ซึ่งมี 5 องค์ประกอบหลักได้แก่

  • การกำกับดูแลและวัฒธรรม
  • กลยุทธ์และการกำหนดวัตถุประสงค์
  • ผลการปฏิบัติงาน
  • การสอบทานและการแก้ไขปรับปรุง
  • สารสนเทศการสื่อสารและการรายงาน

และกรอบแนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้สอดคล้องกับหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารความเสี่ยงที่มีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร ดังนี้

  1. แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติงาน และการดำเนินงานของบริษัทฯ ต้องรักษาสมดุลระหว่างความเสี่ยง (Risk) ผลตอบแทน (Return) และความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อให้มั่นใจถึงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร เป้าหมายจากการดำเนินธุรกิจ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ภายใตระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite)
  2. การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกและกลั่นกรองกลยุทธ์ และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจต้องสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite)
  3. การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมองค์กร (Core Values) ที่ผู้บริหารและพนักงานต้องตระหนักว่า การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างให้บริษัทฯ สามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Risk Culture) กำหนดให้ดำเนินการ ดังนี้
  • จัดให้มีการอบรมหลักสูตรบริหารความเสี่ยงองค์กร สำหรับคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้ความรู้ ข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงองค์กร ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ภายในองค์กร
  • กำหนดให้ผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงองค์กรเป็น KPI ขององค์กรหรือของฝ่ายงานเจ้าของความเสี่ยง ( Risk Owner) และคณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร
  • กำหนดให้ความเสี่ยงเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพัฒนา และหรือ อนุมัติคู่ค้ารายใหม่
  • ดำเนินงานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) และคณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง
นโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร

นโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร
(Enterprise Risk Management Policy and Framework)