วัฒนธรรมองค์กร
A
Accountability
จิตสำนึกในความรับผิดชอบจนงานสำเร็จ
I
Integrity
ทำในสิ่งที่ถูกต้องมีจริยธรรมและโปร่งใส ตรวจสอบได้
M
Mutual Support
ทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน สนับสนุนกัน
S
Service Excellence
ฟังและตอบสนองความต้องการของลูกค้า
นโยบายเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
โดยวัฒนธรรมองค์กร ที่ได้กำหนดไว้คือ “AIMS CULTURE” ย่อมาจาก

A (Accountability)
KPIs คือ KPIs Team, Cost Functional Strategy

I (Integrity)
KPIs คือ Code of Conduct 100% / นโยบายต่อต้านคอรัปชัน

M (Mutual Support)
KPIs คือ Solution Design Training, Employee satisfaction = 95%

S (Service Excellence)
KPIs คือ Customer satisfaction = 95%
นโยบายด้านกลยุทธ์

Digital Way
หลักการทำงานในโลกยุค Digital ที่ต้องเตรียมความพร้อมให้ทีมงานเรียนรู้ และเข้าใจการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การเลือกใช้สินค้าและบริการ รวมถึงการทำงานล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตลอดเวลา องค์กรต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง โดยการเลือกใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง และควรให้บุคลากรได้รับรู้เรื่องสำคัญต่างๆ ให้เกิดการตระหนักรู้ในตัวเอง ดังนี้
- การสร้าง Digital Transformation ให้เป็นวัฒนธรรมใหม่ในองค์กร
- การสร้าง Network Society ที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว
- การสร้าง Ecosystem ที่เรามีส่วนร่วมในชุมชนนั้นๆ อย่างเป็นระบบ
- การสร้าง Platform ที่รองรับผู้บริโภค และการตลาดยุค Digital
- การสร้าง Agility Team ที่ผลักดันนวัตกรรมออกมาได้อย่างรวดเร็ว
AIMS Culture
วัฒนธรรมองค์กร ถือเป็นหัวใจสำคัญและมุ่งปลูกฝังแก่พนักงานทุกคน เพื่อสร้างทัศนคติของการทำงานอย่างมืออาชีพ
Network Expansion and Collaboration
การขยายและการร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งของเครือข่ายพันธมิตรเพื่อการสร้างรากฐานและขยายธุรกิจที่ยั่งยืน การสร้างและขยายเครือข่ายเป็นสิ่งจำเป็นในการทำธุรกิจในยุคนี้ที่มีการแข่งขันกันสูง เครือข่ายธุรกิจเป็นวิธีที่สามารถสร้างคุณค่าได้อย่างมากในการขยายฐานลูกค้าใหม่ และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดย WICE ได้กลยุทธ์ให้เกิดการขยายและร่วมมือกันใน 4 ด้าน ดังนี้
- Capability Collaboration
- Geography Expansion
- Partnership’s Collaboration
- Operating Model Collaboration
Customer Engagement
การบริหารความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและลูกค้าให้เป็นลูกค้าที่ยั่งยืนตลอดไป คือ กลยุทธ์การบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าแบบหนึ่ง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัท สามารถจัดการกระบวนการต่าง ๆ ภายใน ให้ดำเนินการนำเสนอบริการได้อย่างสอดคล้องและตอบสนองได้ตรงต่อความต้องการของลูกค้า เนื่องจากปริมาณคู่แข่งขันในธุรกิจนั้น ๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การแข่งขันก็ย่อมมีความรุนแรงขึ้น ในขณะที่จำนวนลูกค้ายังเท่าเดิม การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าจึงเกิดขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด นำมาซึ่งความภักดีของลูกค้า สามารถทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่จะทำกำไรในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
Enduring Organization
การบริหารจัดการระบบในองค์กรนั้น ถือว่าเป็นหมวดที่สำคัญที่สุดสำหรังบริษัทฯ เพราะไม่ว่าบริษัทฯ จะมีทรัพยากรที่พร้อมสรรพเท่าใด หากขาดการจัดการบริหาร และสร้างระบบในองค์กรที่ถูกต้อง ย่อมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น จึงจำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์เพื่อเตรียมพร้อมและกำหนดภาพรวมของทิศทางที่บริษัทจะดำเนินไป รวมถึงสร้างระบบและกระบวนการที่ถูกต้องและวัดผลได้ การปลูกฝังแนวคิด การวางแผน เพื่อดึงศักยภาพของพนักงานออกมาได้อย่างสูงสุด นำไปสู่เป้าหมายขององค์กรอย่างยั่งยืน