5 ข้อดีเมื่อมี Sustainable Supply Chain

วิกฤตโควิด 19 คราวนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจน้อยใหญ่อย่างหนักถึงหนักมาก ทำให้ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงประเด็นด้านสังคมสิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) เข้ามาบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หรือที่เรียกว่า “การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน” ( Sustainable Supply Chain) ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสลดความเสี่ยงและเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอีกด้วย

ห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน คือ การจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าและบริการ

คำจำกัดความจาก SET

ดังนั้นทุกกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาต้องทำงานสอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจใน ต้นทุนการผลิต และที่สำคัญ คือ ความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นเพื่อต้องการให้ผู้บริโภค หรือ End Consumer ประทับใจในสินค้าหรือบริการ เจ้าของสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าต้องมีระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือที่เรียกกว่า การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ

เหตุผลที่ต้องทำ Sustainable Supply Chain

ขณะที่การมาของโรคโควิดครั้งนี้ถือเป็นวิกฤต การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานสิ่งที่น่ากังวลคือ องค์กรธุรกิจน้อยใหญ่ที่สะดุดลงเพราะวิกฤตครั้งนี้ ซึ่งการรักษาตัวรอดของทุกระดับองค์กรธุรกิจนั้น มีความสำคัญอย่างมากและจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องใส่ใจ การบริหารความยั่งยืนด้านการจัดการซัพพลายเชนนั้นจึงมีความสำคัญมาก นอกจากนี้การทำให้ซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนจะทำให้บริษัทสามารถเพิ่มขีดการแข่งขันได้มากขึ้นเพราะเทรนด์ทั้งโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น บริษัทจะมีชื่อเสียงที่ดีเพราะมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

5 ข้อดีของ Sustainable Supply Chain

เมื่อธุรกิจโลกกำลังเปลี่ยนไปข้างหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาบริหารจัดการ ดังนั้นซัพพลายเชนแห่งอนาคต จะไร้เงาของโกดังและสต็อกสินค้า โดยนำการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน มาบูรณาการจัดการองค์กรธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดีของการนำการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย

  1. ลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะหยุดชะงัก เนื่องจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  2. ปกป้องชื่อเสียงบริษัทและสร้าง Brand Value
  3. ลดต้นทุนในกระบวนการดำเนินธุรกิจ
  4. พัฒนาผลิตภาพแรงงาน
  5. สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ สอดรับกับตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป

ปัจจุบันห่วงโซ่การผลิตโลกพลิกโฉมจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด ถือเป็นจังหวะเหมาะสำหรับผู้ประกอบการในการทำความเข้าใจห่วงโซ่อุปทานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น โดยอาจเริ่มจากการรู้จักแหล่งวัตถุดิบที่แท้จริงของธุรกิจแทนการรู้จักแต่ผู้ขาย และในทางกลับกันก็ต้องสร้างตัวตนในตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้รู้จักมากขึ้น

จากข้อมูลข้างต้นที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน นั้นจะทำให้บริษัทสามารถอยู่ได้อีกเป็นร้อยปีโดยที่ส่งผลกระทบถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด WICE Logistics ขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความยั่งยืนด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนให้มีความคล่องตัวสม่ำเสมอ สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลให้ต้นทุนและค่าขนส่งไม่แน่นอน การมี Cash flow อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้บริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินสูง ถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน นอกจากนี้ WICE ยังได้จัดทำ Go Green Project ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งโปรเจ็ค CSR ใส่ใจดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับการดูแลพนักงานและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี และดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ

  1. ในด้านการดูแลสังคม บริษัทมีแนวคิดเพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในอนาคตของประเทศชาติ จึงได้มีนโยบายในการดูแลเด็กในวัยเรียน และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติเป็นประจำทุกๆ ปี เน้นโรงเรียนในชุมชนใกล้เคียงและด้อยโอกาสทางสังคม นอกจากนี้ยังร่วมส่งเสริมและดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนบัวหลวงสำนักอนามัย ซึ่งศูนย์ฯ รับดูแลและสร้างพัฒนาการให้เด็กเล็กที่เป็นครอบครัวยากจน โดยมีเด็กเล็กวัยก่อนอนุบาลจำนวนกว่า 40 คน
  2. ในด้านสิ่งแวดล้อม  บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดการให้รถบรรทุกส่งสินค้าทุกคันมีมาตรฐานในการขนส่ง และไม่เป็นการสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อม จนได้รับรางวัล มาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก ประจำปี 2561 (Q Mark 2018) จากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  3. การพัฒนาและดูแลรักษาทรัพยากรบุคคล และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า บริษัทฯ ได้ปฎิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ใส่ใจดูแลด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยในสำนักงาน พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่มเติมความรู้ ความสามารถ ทักษะ สร้างทัศนคติที่ดี โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งด้าน Technical knowledge ด้าน Soft Skill ทั้งด้วยการฝึกอบรมภายในบริษัท และอบรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายนอกบริษัท

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีนโยบายในการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรมด้วยการประเมินผลงานปีละ 2 ครั้ง รวมถึงติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราเงินเดือนเพื่อจัดโครงสร้างเงินเดือนอย่างถูกต้องเหมาะสม ในส่วนขอสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ นอกจากให้สิทธิการลาและวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างเหมาะสมแล้ว  บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีความสุขในการทำงานอันจะนำไปซึ่งการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น เพื่อบรรลุการบริการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ทุกหน่วยงานต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กับทุกหน่วยธุรกิจในเครือข่ายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน สามารถดำเนินได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญผู้ประกอบการ SME ก็ต้องเร่งปรับตัวให้เข้าสอดคล้องกับธุรกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลจาก