Supply chain & logistics management

Modern Supply Chain & Logistics Management

Modern Supply Chain & Logistics Management

การจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือ การจัดการซัพพลายเชน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ปัจจุบัน การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นการจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะจัดระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัว

ในการทำงานของกระบวนการ SCM ทั้งหมด ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานสำคัญที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดเรื่อง SCM เสียก่อน ผู้บริหารธุรกิจจำเป็นต้องจัดเตรียมกระบวนทัศน์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นและทั้งหมดนี้จะสะท้อนภาพออกมาในแง่ของกระบวนการ SCM ที่ก่อประโยชน์ได้ผลที่สุด

การจัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

จัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพโรงงานอุตสาหกรม อย่างไร

1. เกิดการบูรณาการข้อมูลในองค์กร คือ การจัดการซัพพลายเชนจะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานระหว่างกัน โดยการนำข้อมูลที่ไหลผ่านระบบซัพพลายเชนมาเปิดเผย แลกเปลี่ยนให้รับรู้ภายในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลการผลิต ข้อมูลสินค้าคงคลังการตลาด และการขนส่งสินค้า

ข้อมูล รายละเอียด
การขาย –  โครงสร้างทีมงานขายประกอบด้วยผู้จัดการฝ่ายขายดูแลการขายดูแลลูกค้า ออกงานแสดงสินค้ากำหนดราคาขาย เงื่อนไขการขายต่างๆ ตัดสินใจในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการตลาด

–  เจ้าหน้าที่การตลาด ติดต่อประสานงานระหว่างลูกค้า และ โรงงาน   ดูแลออเดอร์ให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้า

–  สัดส่วนยอดขาย

–  ช่องทางการจัดจำหน่าย

–  การส่งเสริมการตลาด

–  ส่วนผสมทางการตลาด4P’s

–  ตลาดเป้าหมาย (Target Market)

การผลิต –  รูปแบบกระบวนการผลิต

–  ระบบการผลิต

–  เทคโนโลยีการผลิต

–  นโยบาย และ เป้าหมายดำเนินงานผลิต

–  กำลังการผลิต

–  ประสิทธิภาพการผลิต

สินค้าคงคลัง –  วัตถุดิบในสต๊อก

–  การวางแผนการจัดเตรียมวัตถุดิบยัง

–  ควบคุมสต็อก

การขนส่งสินค้า –  ระบบการส่งมอบสินค้า

–  LEAD TIME

จากข้อมูลดังกล่าว เมื่อนำข้อมูลการขาย ข้อมูลการผลิต ข้อมูลสินค้าคงคลังการตลาด และการขนส่งสินค้าให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละข้อมูลก็จะทำให้การดำเนินการในแต่ละด้านเกิดความคล่องตัว สามารถลื่นไหลไปตามระบบ SCM เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานเพิ่มผลิตภาพขององค์กรได้

2. สร้างความร่วมมือกัน การจัดการซัพพลายเชน ครอบคลุมความร่วมมือของคนในองค์กรและนอกองค์กรเพื่อที่จะมอบหมายงานให้กับผู้ที่ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดภายในกระบวนการ เช่น

  • ผู้ผลิตร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายของบริษัท ในการวางแผนการผลิตในอนาคต
  • กิจการร้านค้าปลีกก็อาจจะให้ซัพพลายเออร์ได้เข้ามาบริหารสินค้าคงคลัง (Vendor Managed Inventory – VMI) หรือเติมเต็มสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment Program – CRP)

จะเห็นได้ว่าความร่วมมือลักษณะนี้ เป็นการปฏิวัติแนวคิดจากเดิมที่ต่างคนต่างใช้ทรัพยากรของตัวเอง แต่แนวคิดใหม่นี้จะนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และเพิ่มผลิตภาพขององค์กรได้

3. เกิดการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลภายในองค์กร แต่ต้องสามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันภายนอกองค์กร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้กระบวนการ SCM สมบูรณ์ขึ้น

การจัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

ปัจจุบันการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การจัดการซัพพลายเชนจะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ เช่น EDI (Electronic Data Interchange) และการติดต่อสื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ ตัวอย่างหนึ่งของทางด่วนสารสนเทศที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันและได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปถึงศักยภาพในการเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์นับล้านระบบและมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน เทียบประชากรอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้ กับประชากรของประเทศไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญก็คือรายได้เฉลี่ยของประชากรอินเทอร์เน็ตจะสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรประเทศใดๆ ในโลกอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) ซึ่งสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันเมื่อนำมาใช้ในเครือข่ายแล้วสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) เป็นระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางธุรกิจ ระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าฝ่ายหนึ่งกับคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น จากผู้ค้าปลีกไปยังผู้เสนอขายสินค้าหรือจากผู้เสนอขายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกในรูปแบบที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย มีความสอดคล้องกัน เอกสารทางธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อ ใบกำกับสินค้า ใบส่งของ ฯลฯ ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและเป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำๆ แต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำของข้อมูล เช่นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการ ขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

ข้อดีของระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)

  1. ช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ปกติแล้วการป้อนข้อมูลเข้าระบบ มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อนำระบบ EDI มาใช้สามารถทำให้ลดข้อผิดพลาดลงได้
  2. ช่วยลดงบประมาณ ในเรื่องของเอกสารและค่าจัดส่ง เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน รวมถึงค่าจัดส่งที่ส่งผิด และการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนขององค์กร เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับองค์กร ถ้านำระบบ EDI มาใช้จะช่วยลดความผิดพลาดและทำให้ลดต้นทุนในส่วนของความผิดพลาดนั้นลดลง
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เนื่องจากบริษัทสามารถจัดการกับเอกสารธุรกิจได้ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็วก็ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาด หรือต้นทุนที่เกิดจากสินค้าคงคลัง และเกิดความได้เปรียบจากการดำเนินงานที่รวดเร็วเพราะทำให้องค์กรจะไม่ต้องพบกับปัญหาในเรื่องสินค้าขาดสต็อกในร้านค้าปลีก
  4. ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการผสมผสานกันระหว่างข้อดีของการช่วยลดงบประมาณ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีอยู่ชนิดเดียวในเวลานี้ มีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศจะเน้นการนำเอาระบบ EDI มาใช้ในการติดต่อระหว่างบริษัทในเครือสมาชิก ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้แข่งขันสามารถที่จะมีกระบวนการเทคโนโลยีที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์ และนอกจากนั้น ยังเป็นการเสนอการบริการที่ดีให้กับลูกค้าด้วย
  5. เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดทั้ง 2 ฝ่าย มักจะโต้เถียงกันว่าใครเป็นฝ่ายผิด
    และทำให้เกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย

วอล์มาร์ทกับการจัดการซัพพลายเชน

Wal-Mart ถือเป็นตัวอย่างในเรื่องการประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนสินค้าที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท คือ ‘Always Low Prices’ Wal-Mart ทำทุกวิถีทางเพื่อลดต้นทุนที่เกินความจำเป็น มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศค่อนข้างสูง ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในทุกกระบวนการขององค์กร เพื่อประหยัดเวลา แรงงาน และการใช้ รัพยากรให้มากที่สุด อันจะทำให้สามารถลดต้นทุนสินค้าตลอดจนราคาสินค้าลงได้ จึงทำให้ Wal-Mart เป็นผู้นำด้านราคาในธุรกิจ Retailing Store ได้

การจัดหาสินค้าเพื่อจำหน่าย Wal-Mart ใช้ระบบ VMI (Vendor-Managed Inventory) คือ Wal-Mart ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตัดสินใจในการจัดหาสินค้าอีกต่อไป แต่เป็นหน้าที่ของ Supplier หรือผู้ผลิตสินค้าให้กับ Wal-Mart ต้องตัดสินใจว่า เมื่อใดจึงควรจะจัดส่งสินค้าที่ศูนย์กระจายสินค้า ปริมาณเท่าไร และส่งสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งระบบ Retail Link จะเชื่อมข้อมูลยอดขายและสินค้าคงคลังไปยังคู่ค้าทั้งหมดของ Wal-Mart เพื่อให้คู่ค้าสามารถดูข้อมูลสินค้าของตนเองได้ จะได้วางแผนการผลิตให้เหมาะสม ทันเวลา และตรงความต้องการของลูกค้าและบริษัท

การจัดส่งสินค้า Wal-Mart มีศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้การขนส่งสินค้าสะดวกขึ้น โดย Supplier หรือผู้ผลิตจะทำการขนส่งสินค้ามาที่ศูนย์กระจายสินค้าที่ใกล้ที่สุด ซึ่งการขนส่งใน 1 เที่ยวนั้น จะมีสินค้าทั้งหมดที่ต้องส่งไปยังสาขาต่างๆ จากนั้นทางศูนย์ฯ จะทำการแยกสินค้าที่รับมาเพื่อจัดส่งต่อไป

การเชื่อมโยงระบบ ทั้งในส่วนที่ติดต่อภายใน และที่ต้องติดต่อกับ Supplier หรือผู้ผลิตนั้น Wal-Mart ใช้การติดต่อผ่านระบบดาวเทียมส่วนตัว เพื่อลดเวลาในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายการสื่อสาร

นโยบายการจัดหาสินค้าเข้ามาจำหน่าย จะเน้นการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อหาสินค้าเข้าร้านไม่มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงรับรองผู้ผลิต และ Supplier การตกลงซื้อขายกับผู้ผลิตที่ต้นทาง

นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบควบคุมสินค้าคงคลังผ่านทางเทคโนโลยีดาวเทียม ชื่อว่า ‘ระบบ VSAT’ (Very Small Aperture Terminal)

ขอบคุณที่มา : https://www.mmthailand.com/