About WICE
ธุรกิจของเราเป็นตัวกลางให้บริการและจัดการในด้านการขนส่งจากประเทศต้นทางหนึ่งจนไปถึงอีกประเทศปลายทางหนึ่ง โดยไม่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง (NVOCC) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออก ให้บริการตั้งแต่การจองระวางเรือ การบรรจุสินค้า การดำเนินพิธีการทางศุลกากรขาเข้า-ขาออก การจัดการเอกสารส่งออก-นำเข้า เป็นต้น
เป็นตัวแทนให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ทั้งการนำเข้า-ส่งออก (Import-Export) ไม่ว่าจะเป็นทางทะเล (เรือ-Sea Freight), ทางอากาศ (เครื่องบิน-Air Freight), ทางบก (รถบรรทุกหรือรถไฟ-Trucking or Railing) ทั้งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ (FCL) และแบบรวมตู้สินค้า (LCL and Consolidation) สามารถให้บริการขนส่งครบวงจรต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) รวมทั้งเป็นตัวแทนการดำเนินพิธีการศุลกากร (Customs Clearance) เป็นตัวแทนออกของให้กับผู้ส่งและผู้รับสินค้า (Customs Broker) และให้บริการในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า (Business Consultant) และการให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดน (Cross Border Service) แบบ Door-to-Door ซึ่งทางบริษัท WICE ของเรามีพันธมิตรกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และเครือข่าย Agent ต่างประเทศทั่วโลก เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม
จากประสบการณ์การทำงานของบริษัทที่สะสม และเรียนรู้มาตลอด ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินการและให้บริการทางด้าน Logistics มากว่า 25 ปี บวกกับพนักงานที่มีศักยภาพ WICE จึงมีความชำนาญในด้าน Logistics ไม่ว่าจะเป็นทาง SEA-AIR Freight, CUSTOMS CLEARANCE, TRANSPORTATION หรือแม้กระทั่ง Special Equipments เรียกได้ว่าบริษัทเราให้บริการครบวงจร (One stop services provider) โดยมีการติดตามงานอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
WICE มีประสบการณ์การทำงานกับลูกค้ามากมาย และหลากหลายความแตกต่าง ทั้งด้วยเรื่องกลุ่มลูกค้า สินค้า การแข่งขัน และProcess การทำงาน ซึ่ง WICE เน้นการให้บริการเพื่อตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าอย่างเต็มที่ ตลอดมา WICE สามารถจัดการได้อย่างดีมาโดยตลอด จนทำให้เป็นที่ไว้ใจจากกลุ่มลูกค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย ยกตัวอย่าง กลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมยางรถยนต์ เช่น MAXXIS, SUMITOMO (DUNLOP), กลุ่ม Auto Parts เช่น TATA MOTOR, SUMMIT AUTO BODY, กลุ่มอาหาร เช่น KINGFISHER, SIAM PRESERVE FOOD, กลุ่มเคมีภัณฑ์ เช่น PTT, SCG, MILLOTT เป็นต้น
WICE Freight มีสำนักงาน 4 แห่ง ได้แก่
- สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ หรืออาคารไวส์เพลซ (WICE Place) ตั้งอยู่ถนนนนทรี เขตยานนาวา พระราม3 กทม.
- สำนักงานแหลมฉบัง ตั้งอยู่อำเภอเมือง ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ให้บริการและดูแลได้อย่างเต็มที่สำหรับลูกค้าในแถบแหลมฉบัง หรือ Eastern Seaboard
- สำนักงานสุวรรณภูมิ ในนามบริษัท Prompt Freight (Thailand) Co., Ltd. ให้บริการหลักในการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight)
- สำนักงาน WICE Logistics Co., Ltd. ตั้งอยู่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ให้บริการสำหรับการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศด้วยรถหัวลากของบริษัท WICE
Our Services
WICE มีรถหัวลากที่มีมาตรฐานเป็นของบริษัทเอง โดยเปิดเป็นบริษัทในเครือ WICE Logistics เพื่อความพร้อมในการรองรับบริการการขนส่งทาง Transport ตามความต้องการของลูกค้าได้
WICE มีการเปิดตู้รวมสินค้าเอง (Consolidator) สำหรับการส่งสินค้าไป Port ทาง USA, Karachi และมีการขนส่งสินค้าไปยัง Hub ที่ Port Singapore และ Hong Kong สำหรับการแยกส่งสินค้าไปยัง Port ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า Re-Consolidate
การติดต่อส่งเอกสารระหว่างลูกค้า กับทาง WICE สามารถใช้การส่งเอกสารแนบมากับ E-mail ได้ หรือใช้วิธีการแฟกซ์ Fax (02-681-6123) หากเป็นเอกสารสำคัญตัวจริง หรือการวางบิลลูกค้า ทาง WICE มีพนักงานขนส่งเอกสาร (Messenger) รับส่งเอกสารให้ลูกค้าได้ในแต่ละวัน
WICE มีขั้นตอนการดำเนินการได้ ดังนี้
- แจ้งบริษัทประกันที่ทางลูกค้าทำอยู่
- จัดการทำ survey ซื่งในระหว่างนั้นไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายหรือสัมผัสตัวสินค้าและควรมีการทำ survey ร่วมกันระหว่างระหว่างตัวแทนสายเรือ ลูกค้า และ Agent ที่ทางลูกค้าใช้บริการอยู่
- ตรวจสอบสินค้า ขอบข่ายและประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนที่จะส่งข้อเรียกร้องไปยังบริษัทประกันภัยของลูกค้า หรือ กับทางตัวแทนโดยตรงหากบริษัทลูกค้าไม่ได้ทำประกันภัย
- ถ้าลูกค้าประสงค์จะยื่นข้อเรียกร้อย (claim) อย่างเป็นทางการ ลูกค้าจะต้อง เตรียมจัดทำเอกสาร “Notice of Claim” ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดหลัก ๆ เช่น B/L Number, Container Number, Feeder/Vessel Name & Voyage คำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติหรือรายละเอียดของสินค้า พร้อมทั้งประมาณการความเสียหายและจำนวนเงิน
- ลดการสูญเสียโดยการกอบกู้ส่วนที่เหลือของสินค้าของลูกค้า และใช้ความระมัดระวังที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างดำเนินการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการบรรเทาความสูญเสียของสินค้า
- ดำเนินการ claim และส่งเรื่องให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อเอกสารของลูกค้าเสร็จสมบูรณ์ครบถ้วน
Freight
Shipping หมายถึง ตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า โดยจัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกนอก ราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออก
Freight Forwarder หมายถึง ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่าประเทศ Freight Forwarder อาจทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น บางรายทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการจัดหาและจัดการขนส่งสินค้าของผู้ส่งออกไปยังเมืองท่าปลายทาง บางรายทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้า บางรายทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operator) หรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่เจ้าของเรือ (Non-Vessel Operating Common Carrier (NVOCC))
1. ผู้ขาย หรือ ผู้ส่งออก ต้องเข้าใจเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมถึงวงจรทุกขั้นตอน อาจเข้าอบรมหลักสูตรการนำเข้าและส่งออกของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก หรือหลักสูตรที่ธนาคารจัดขึ้น
2. ผู้จัดทำเอกสาร ทำเอกสารและลงนาม ต้องจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์ด้านเอกสารและติดต่องานด้านการส่งออก หากจ้างชิปปิ้งก็ได้แต่อาจมีปัญหาภายหลังเรื่องการจัดเก็บเอกสาร
3. จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดทะเบียนผู้ส่งออกกรมศุลกากร
– เอกสารขาออก เกี่ยวข้องกับ 6 ฝ่ายดังนี้
-
- ผู้ส่งออก : ต้องจัดเตรียมสินค้า หีบห่อตามคำสั่งซื้อ
- ธนาคาร : ผู้เรียกเก็บเงินตามตั๋วขาออก
- ชิปปิ้ง, ประกันภัย : ผู้ทำหน้าที่ติดต่อพิธีการขาออกและการจองเรือ, การจัดหารถมาขนส่งสินค้า, กรมธรรม์ประกันภัย
- บริษัทเรือ : รวมตู้คอนเทนเนอร์ (consol cargoes) หรือ จองทั้งตู้เป็นเอกเทศ (FCL)
- กรมศุลกากร : พิธีการส่งออก ผู้ตรวจสินค้า และตรวจสอบการผ่านเอกสาร
- ผู้ซื้อจากต่างประเทศ : ทำคำสั่งซื้อมา ควรเป็น LC แบบเพิกถอนไม่ได้ ไม่ระบุธนาคารให้ความยินยอม ระบุธนาคารผู้จ่าย แบบเงินสดดีที่สุด หรือตั๋วเทอม ถ้าเคยซื้อกันนาน หมดอายุต้องนานพอสมควรทันการ ship ทันการเดินทางจนถึงเมืองท่าปลายทาง ทันการ clear สินค้าของผู้ซื้อ
ซึ่งทางบริษัท WICE Freight สามารถให้คำปรึกษา รวมทั้งให้บริการเป็นตัวแทนผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า ในการขนส่งสินค้าได้ทุกขั้นตอนทั้งระบบ
- ประเภทการขนส่งสินค้า : Air Freight / Sea Freight / Trucking / Multi-modal Transport
- ประเภทสินค้า พร้อมรายละเอียด (Commodity & Details) : เช่น รถยนต์ประกอบสำเร็จ, ชิ้นส่วนประกอบยนต์, เหล็กเส้น, สารเคมี Acetoneฯลฯ
- เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS: Material Safety Data Sheet) : เป็นเอกสารที่จำเป็นสำหรับสินค้าอันตรายในการประกอบการเดินเรื่องกับสายเรือเพื่อการขออนุมัติในการนำสินค้าขึ้นเรือ
- น้ำหนักสินค้า (Gross weight)
- ขนาดสินค้า (Dimension) : กว้างxยาวxสูง
- ประเภท และขนาดตู้คอนเทนเนอร์ : เช่น ตู้ Dry Container ขนาด 20’ft
- จำนวนตู้ หรือ CBM : เช่น จำนวน 2 ตู้ (FCL) หรือ 3 CBM (LCL) จำนวนสินค้า (Quantity) : เช่น 12 cartons , 10 pallets
- สถานที่รับตู้ต้นทาง (Place of Receipt) : เช่นรับตู้เปล่าที่ ลาดกระบัง
- ท่าเรือต้นทาง (Port of Loading) : ท่าเรือแหลมฉบัง
- ท่าเรือปลายทาง (Port of Discharge) : โตเกียว, ญี่ปุ่น
- สถานที่ส่งสินค้าปลายทาง (Place of Destination) : ระบุหากมีการส่งสินค้า Term to Door
- รายละเอียดอื่น ๆ (Requests)
การขนส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็น ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ จะแบ่งขั้นตอนออกได้เป็น 3 ช่วง คือ
- การขนส่งเบื้องต้น (Pre-Carriage) เป็นการขนส่งจากสถานที่เก็บสินค้าของผู้ขาย ไปยังท่าเรือ ย่านบรรทุกสินค้าทางบก (ทางรถไฟ หรือ ทางรถยนต์บรรทุก) หรือท่าอากาศยาน ในประเทศเดียวกัน ซึ่งจะต้องทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วย เป็นต้นว่า ขนจากคลังสินค้าที่บางปะกงมาจนถึงท่าเรือคลองเตย
- การขนส่งหลัก (Main Carriage) เป็นการขนส่งโดยยานพาหนะระหว่างประเทศ หลังจากที่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกของประเทศต้นทาง ไปจนถึงประเทศปลายทาง ซึ่งต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าอีกครั้งหนึ่ง เช่น จากท่าเรือคลองเตยไปจนถึงท่าเรือสิงคโปร์
- การขนส่งต่อ (On Carriage) เป็นการขนส่งต่อเนื่องจากจุดที่สินค้าไปถึงประเทศปลายทางไปจนถึงอาคารของผู้ซื้อในประเทศปลายทางนั้น เช่น จากท่าเรือสิงคโปร์ไปถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อที่ Jurong บนเกาะสิงคโปร์
ลักษณะท่าเรือแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- Original-Destination Port เป็นท่าเรือที่เป็นจุดต้นทาง-ปลายทางของการขนส่งสินค้าเพื่อขนถ่ายสินค้าเข้าไปในประเทศหรือออกจากประเทศ
- Transhipment Port หรือ Transit Port เป็นท่าเรือที่เรือแม่ (Direct Vessel) จอดรับส่งตู้สินค้าที่รวบรวมจากท่าเรือใกล้เคียงซึ่งมักจะมีขนาดเล็กหรือปริมาณสินค้าตู้ไม่มากเพียงพอที่เรือแม่จะไปรับได้ทั้งนี้ขนส่งโดย Feeder Vessel เช่น ท่าเรือสิงคโปร์ ท่าเรือตันหยงปาราปัส เป็นต้น
- Inland Container Depot (ICD) หรือเรียกว่า “ท่าเรือบก” เป็นท่าเรือที่อยู่ในแผ่นดินที่ไม่มีกิจกรรมทางเรือเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าที่มีการตรวจพิธีการศุลกากรเพื่อปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์
ท่าเรือหลัก ๆ ในประเทศไทย ได้แก่
- ภาคกลางและภาคตะวันออก : ท่าเรือกรุงเทพ, ท่าเรือน้ำลึก แหลมฉบัง จ.ชลบุรี, ท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง
- ภาคใต้ : ท่าเรือน้ำลึกสงขลา และภูเก็ต, ท่าเรือระนอง จ.ระนอง
- ภาคเหนือ : ท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย ตัวอย่างท่าเรือหลักที่สำคัญของประเทศไทย
- ท่าเรือกรุงเทพ (PAT: Port Authority of Thailand) ตั้งอยู่บริเวณถนนคลองเตย กรุงเทพฯ เป็นท่าเรือชายฝั่งทะเล หรือ Transhipment Port
- ท่าเรือแหลมฉบัง (LCB: Laem Chabang) ตั้งอยู่แหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เป็นท่าเรือน้ำลึก หรือ Original-Destination Port
- ท่าเรือบกลาดกระบัง (ICD LKB: Inland Container Depot at Lat Krabang) ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ เป็นสถานที่สำหรับคืนตู้สินค้าเท่านั้น ซึ่งต้องมีการลากตู้สินค้าด้วยรถบรรทุกหรือรถไฟไปยังท่าเรือน้ำลึก เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทาง
House B/L คือ B/L ที่ออกโดย Forwarder ส่วน Master B/L คือ B/L ที่ออกโดยสายเรือ ไม่ว่าจะเป็น B/L WICE (House B/L) หรือว่า B/L เรือ (Master B/L) ลูกค้า สามารถใช้ในการแลกเอกสาร D/O เพื่อเคลียร์สินค้าที่ปลายทางได้เหมือนกัน เพียงแต่ agent ที่ใช้ปลายทางต่างกัน
Gross Weight คือ น้ำหนักรวมของสินค้า น้ำหนักสุทธิรวมบรรจุภัณฑ์
Net Weight คือ น้ำหนักสุทธิของสินค้า
Tare Weight คือ น้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังไม่มีการบรรจุสินค้า
Payment
โดยทั่วไป WICE ให้ Credit แก่ลูกค้า 7-14 วันหลังจากการวางบิล หรือในบางกรณีไม่เกิน 1 เดือน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ
กรณี advance ภาษี ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารซึ่งจะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป โดยอาจพิจารณาจากวงเงิน, จำนวนสินค้า, มาตรฐานบริษัทลูกค้า, ระยะเวลาในการทำงานร่วมกันมาก่อน เป็นต้น