Cross-Border Logistic Thailand พร้อมหรือไม่ที่จะเปิดตลาดการค้าเต็มรูปแบบ ด้วยการทำโลจิสติกส์แบบครบวงจร รวมถึงการทำ Cross-Border สู่ประเทศต่าง ๆ !!!
Cross-Border Logistic Thailand
พร้อมหรือไม่ที่จะเปิดตลาดการค้าเต็มรูปแบบ ด้วยการทำโลจิสติกส์แบบครบวงจร รวมถึงการทำ Cross-Border สู่ประเทศต่าง ๆ !!!
Cross-Border คือ ส่วนประกอบของโลจิสติกส์อีกหนึ่งแขนง หรือก็คือการนำเข้า-ส่งออกสินค้าจากประเทศต่าง ๆ การค้าผ่านแดน รวมไปถึงการ จัดการพิธีการต่าง ๆ ระว่างประเทศที่มีพรมแดนติดกันกับผู้ส่งออก หรือ แม้กระทั้ง การยินยอมให้มีสินค้าผ่านเขตอณาจักรของตนเพื่อส่งออกไปประเทศที่สาม โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าอากรสำหรับสินค้าที่ผ่านแดนแต่อย่างใด เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตามความสมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่เขียนขึ้นของประเทศนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด
ตัวอย่าง การขนส่งสินค้า ผ่านแดน จากประเทศไทยไปยังประเทศสิงคโปร์ต้องผ่าน ประเทศมาเลเซียก่อน จึงผ่านแดนต่อไปยังสิงคโปร์ได้มีขั้นตอนดังนี้ (ฝั่งไทย)
- จัดใบส่งสินค้าขาออก
- จัดทำใบบัญชีสินค้า
- จัดทำบัญชีสิค้า (ศ.บ.3)
- ผ่านศุลกกร ได้รับใบขนส่งสินค้าและตรวจสอบแล้ว โดยกรมศุลกากร
- ตรวจปล่อยสินค้า และ ผูกตราศุลกากร
- รับบรรทุกการส่งสินค้านอกราชอณาจักรไทย
- ส่งมอบเอกสารสำเนาตรวจปล่อยให้กับผู้ขนสินค้าหรือผู้ขนส่ง เพื่อนำไปดำเนินการผ่านแดนต่อไป
ตัวอย่าง การดำเนินการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกผ่านแดน ผ่านทางประเทศมาเลเซียไปยังสิงคโปร์มีเงือนไขและขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ต้องจัดทำใบนำเข้าสินค้านำเข้าผ่านแดนตามแบบฟอร์ม หมายเลข 8 พร้อมยื่นเอกสารส่งออกที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากศุลกากรไทยประกอบด้วย โดยเอกสารนี้จะต้องมีการสำแดงท่าปลายทางที่จะส่งไป
- ต้องส่งด้วย รถบรรทุก หรือ รถบรรทุกคอนเทรนเนอร์ แบบทึบ เท่านั้น
- ต้องเชื่อมคัชซีกับคอนเทรนเนอร์ต่อกันทุกครั้ง/ทุกคัน
- จะต้องขนส่งด้วยเส้นทางที่ประเทศมาเลเซียกำหนดเท่าทั้น
- รถขนส่งใด ๆ จะต้องเป็นรถที่ได้รับการอนุญาตแล้วเท่านั้น
หลักกฎหมายที่ควรทราบในการนำเข้าหรือส่งออกผ่านแดน ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469
การส่งออก-การนำเข้า โดยมาตรา 45 บัญญัติไว้
- ก่อนขนส่งใด ๆ ออกไปภายนอกอณาจักร ผู้ขนส่งหรือผู้รับขนส่ง จะต้องทำตามพระราชบัญญัติ และกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร อย่าเคร่งครัดทุกข้อ
- จะต้องมีการยื่นใบขนส่งสินค้าที่ถูกต้อง
- มีการยื่นเสียอากร หรือ วางเงินประกัน ครบถ้วน (การขอวางเงินประกันต้องเป็นไปที่ตามอธิบดีกำหนด)
- ในกรณีมีการร้องขอในการขนส่งเร่งด่วน อธิบดีมีอำนาจให้ขนส่งได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งก่อน แต่ต้องปฎิบัตตามอธิบดีกำหนด
- กรณีที่อาจจะต้องเสียภาษีอากร ให้วางเงินประกันเพื่อเป็นค่าประกันอากรด้วย
การเสียภาษี
มาตรา 10 บัญญัติไว้
- ให้เก็บค่าภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ตามกฎหมายว่าพิกัดอัตราค่าอากรที่ต้องเสียภาษี เพื่อออกใบขนส่งสินค้า
มาตรา 10 ทวิบัญญัติไว้
- ความรับผิดชอบที่ต้องเสียภาษีใด ๆ สำหรับสินค้านำเข้าจะต้องเสียภาษีเมื่อนำเข้าแล้วเส็จ
มาตรา 10 ตรีบัญญัติไว้
- ความรับผิดชอบที่ต้องเสียภาษีใด ๆ สำหรับสินค้าส่งออกจะต้องเสียภาษีเมื่อส่งออกแล้วเส็จ การคำนวนค่าภาษีจะคำนวน สภาพสินค้า ราคา และ พิกัดตามอัตราที่ศุลกากรออกใบขนส่งสินค้าให้
ท่านำเข้า-ส่งออก
มาตรา 4 บัญญติไว้
- เพื่อความประสงค์ ที่จะนำเข้าหรือส่งออก และ พิธีการศุลกากร ให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจในการออกกฎ
- กำหนดท่า/ที่ใด ๆ ให้เป็นท่า/ที่ สำหรับการนำเข้า-ส่งออก ของ สินค้าประเภทใด ๆ หรือทุกประเภททั้งทางเรือ ทางบก และ ทางอากาศ หรือเป็นท่า/ที่ การขนส่งที่ขอคืนอากรขาเข้าทัณฑ์บน โดยมีเงื่อนไขตามแต่เห็นสมควร
- กำหนดสนามบินใด ๆ เป็นสนามบิศุกลกากร โดยมีเงื่อนไขตามแต่เห็นสมควร
- ระบุเขตอากร ณ ท่า/ที่ใด หรือสนามบินใด ๆ ซึ่งกำหนดไว้