จรรยาบรรณธุรกิจ

จรรยาบรรณธุรกิจ

คณะกรรมการบริษัทฯ มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้บริษัทฯ เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพทั้งในการดำเนินธุรกิจมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการบริหารจัดการที่ดี และดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบอย่างมีจรรยาบรรณ เป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยมุ่งม่นสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น และคำนึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัททุกคน และให้ความสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อย ขึ้น 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการด้วย ทั้งนี้เพื่อช่วยกลั่นกรองงานที่มีความสำคัญอย่างรอบคอบภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มุ่งเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวมมีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ คณะกรรมการเฉพาะเรื่องทุกคณะประกอบด้วยกรรมการ ที่มีคุณสมบัติและหน้าที่รับผิดชอบตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีการกำหนดบทบาทภาระหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างชัดเจน

คณะกรรมการบริษัทฯ จะยึดถือแนวปฏิบัติที่เป็นสากลและมุ่งมั่นพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักการมาตรฐานสากลให้สูงและมุ่งมั่นพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักการมาตรฐานสากลให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันได้แก่ การคำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนงานที่สำคัญ มีระบบการติดตาม วัดผลการดำเนินงาน และบริหารความเสี่ยงอย่างประสิทธิภาพมีความอิสระ และรับผิดชอบต่อผลของการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหาร จะเป็นผู้นำในด้านจริยธรรม และเป็นตัวอย่างในการปฎิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท ตลอดจนส่งเสริมให้มีการปฏิบัติและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิผู้บริโภค และการใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม พร้อมทั้งจัดให้มีระบบการตรวจสอบติดตาม ประเมินผล และทบทวน เพื่อให้พนักงานทุกคนยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างครบถ้วนและยั่งยืน

หลักการดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ

ด้วยเจตนารมณ์ของบริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานจริยธรรมและคุณธรรม และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

บริษัทฯ จึงได้จัดทำคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจฉบับนี้ขึ้น โดยบริษัทฯ มุ่งปฎิบัติตามนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัท ที่เป็นมาตรฐานสากล การปฎิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย และเผยแพร่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้รับทราบแนวปฎิบัติของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ในคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ บรรลุถึงเป้าหมายธุรกิจ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมขององค์กร

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ มุ่งหวังให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบ และยึดถือปฏิบัติตามคู่มือจริยธรรมอย่างเคร่งครัด เพื่อธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานด้านคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ และเลือกทำในสิ่งที่เหมาะสมโดยไม่มีข้อแม้ยกเว้นใดๆ

จรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ

    1. ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ถือหุ้น
      การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การให้ข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพแก่ผู้ถือหุ้น การส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ รวมทั้งเพื่อรับทราบการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ ตลอดจนเพื่อสามารถติดตามการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหาร การจัดให้มีมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ส่วนตนของคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหารเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และไม่กระทำการใดอันเป็นการละเมิด หรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับลูกค้า
      บริษัทฯ มุ่งมั่นสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้แก่ลูกค้า โดยเน้นที่ความเอาใจใส่ การให้บริหารตามมาตรฐานและการรับฟังความเห็นของลูกค้า บริษัทฯ พัฒนาคุณภาพของบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยมีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของบริษัท เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า นอกจากนี้บริษัทฯ ยังพัฒนาบุคลากรที่จะมาให้บริการกับลูกค้า โดยการอบรมพนักงานทังก่อนการปฏิบัติงานและพัฒนาเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถของพนักงานที่ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกค้าของบริษัทฯ ได้รับบริการที่ดีที่สุด
      นโยบายและแนวปฏิบัติต่อคู่ค้า
      บริษัทฯ ให้ความสำคัญในกระบวนการจัดซื้อจัดหา ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญเพื่อกำหนดค่าใช้จ่าย และคุณภาพสินค้าจึงต้องมีขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับคู่ค้า อันเป็นบุคคลที่ช่วยเหลือและเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอบนพื้นฐานการแข่งขันที่เป็นธรรมและเคารพซึ่งกันและกัน
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเจ้าหนี้
      บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับบรรดาเจ้าหนี้ทางการค้า ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้ธุรกิจของบริษัทฯ สามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย โดยบริษัทฯ เคร่งครัดในการชำระหนี้ค่าบริการ และ/หรือค่าสินค้าที่ได้ซื้อจากเจ้าหนี้ทางการค้าตามกำหนดเวลาทุกราย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าเป็นเจ้าหนี้ทางการค้ารายใหญ่หรือรายเล็ก
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับคู่แข่ง
      บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับคู่แข่งทางธุรกิจ โดยไม่ได้มองว่าเป็นเพียงคู่แข่งทางธุรกิจ โดยไม่ได้มองว่าเป็นเพียงคู่แข่งทางธุรกิจด้านเดียว แต่บริษัทฯ ยังมองว่าด้วยสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ คู่แข่งทางธุรกิจยังสามารถผันตัวมาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญในอนาคต บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อคู่แข่งทางธุรกิจอย่างเป็นธรรมบริษัทฯ มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าให้สอดคล้องกับหลักสากลภายใต้กรอบแห่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักปฏิบัติการแข่งขันทางการค้า ไม่ละเมินความลับหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าของคู่ค้าด้วยวิธีฉ้อฉล โดยมีแนวปฎิบัติดังต่อไปนี้
      – ประพฤติปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
      – ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม
      – ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าน
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับพนักงาน
      บริษัทฯ ตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดมีสภาพการจ้างงานที่ยุติธรรม มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน บริษัทฯ จะปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนโดยเสมอภาคกันโดยไม่แบ่งแยกในเรื่องเชื้อชาติ เพศ สีผิว ศาสนา ชาติกำเนิด อายุ รสนิยมทางเพศ ความพิการทางร่างกาย หรือลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และจะดูแลไม่ให้เกิดการคุกคามหรือข่มขู่ต่อบุคลากรทุกระดับ ไม่ว่าจากบุคคลใดหรือโดยวิธีใดๆ
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
      บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านความปลอดภัย คุณภาพชีวิต ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม แบ่งปันผลกำไรเพื่อตอบแทนชุมชนและสังคมผ่านโครงการหรือกิจกรรมตามความเหมาะสม
    2. ความรับผิดชอบต่ออาชีวอนามัย และความปลอดภัย
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
      บริษัทฯ ให้ความสำคัญด้านสุขภาพอนามัย โดยกำหนดนโยบายให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ และให้สิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาล โดยจัดให้มีสวัสดิการพนักงานอย่างเพียงพอ และเหมาะสม
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
      บริษัทฯ จัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างปลอดภัย ถูกสุขอนามัย มีการควบคุม และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และสุขภาพอันอาจเกิดขึ้นในสถานที่ปฏิบัติงาน จัดให้มีอุปกรณ์ในการป้องกันอันตราย และมีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) สำหรับรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น
    3. ความรับผิดชอบต่อแรงงาน และสิทธิมนุษยชน
      ผลตอบแทนและสวัสดิการ
      บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนไม่ว่าจะทำงานในส่วนใด และปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ บริษัทฯ จึงมีนโยบายสำคัญในการจัดให้มีผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม สำหรับพนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเทเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ รวมถึงกำหนดนโยบายและความรับผิดชอบต่อพนักงานและสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน อันจะทำให้พนักงานทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งนี้ ผลตอบแทนและสวัสดิการของพนักงานแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียด โดยขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ให้ความมั่นใจแก่พนักงานทุกคนว่าจะได้รับการพิจารณาผลตอบแทนและสวัสดิการอย่างพอเพียงและเป็นธรรม
      นโยบายการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
      บริษัทฯ ให้ความสำคัญการพัฒนาบุคลากร เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะศักยภาพของพนักงานในทุกระดับให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับ เป้าหมายของงาน และผลสำเร็จของธุรกิจรวมทั้ง เพื่อให้บุคลากรมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบในการแข็งขันให้กับบริษัทฯ อย่างยังยืน โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการขึ้นสูงสำหรับผู้บริหาร และสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกควบคู่ไปกับการจัดการความรู้ ให้บุคลากร และแลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ โดยผ่านทางหลายๆ ช่องทาง พร้อมทั้งเตรียมบุคลากรมีความพร้อมในการรับมือกับการแข่งขันทางธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต
      นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเคารพสิทธิมนุษยชน
      บริษัทฯ ดำเนินกิจการโดยให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีของบุคคล ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวกับพนักงาน และหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์สากล ปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทุกระดับและทุกด้านด้วยความเท่าเทียมกัน บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างถูกต้องเคร่งครัด และเพิ่มเติมประโยชน์นอกเหนือจากกฎหมายตามความสามารถ และหน้าที่ ความรับผิดชอบอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
    4. ความรับผิดชอบต่อข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
      บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนอย่างถี่ถ้วน ปฏิบัติตนตามกรอบของกฎหมาย ระเบียน และข้อบังคับ อย่างเคร่งครัด และต้องไม่มีส่วนรู้เห็น ช่วยหลือ หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิด หรือฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ
    5. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
      ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คือการที่บุคคลได้รับผลประโยชน์จากการตัดสินใจของตน ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้กับบริษัทฯ หรืการรับรู้กิจกรรมการดำเนินงาน หรือแผนการในอนาคตของบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้การตัดสินใจกระทำการใดๆ ของบุคคลนั้น มิได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น บุคลากรทุกระดับต้องหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ อันอาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในความภักดี หรือขัดขวงการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการตัดสินใจกระทำการใดๆ จะต้องปราศจากอิทธิพลของความต้องการส่วนตัว ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิดบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน สำหรับการพิจารณาความเหมาะสมของการทำรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และเพื่อป้องกันการเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไว้อย่างชัดเจน เช่น ขั้นตอนการอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกัน กำหนดนโยบาย และวิธีการดูแลไม่ให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หากพบรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการตรวจสอบจะนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทได้รับทราบรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกันมีรายละเอียดดังนี้

5.1   การรับเงินหรือประโยชน์ตอบแทน
บุคลากรทุกระดับไม่ควรรับสิ่งของ หรือ ของขวัญ หรือข้อเสนอที่เป็นการส่วนตัว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากบุคคลใดก็ตาม อันเนื่องจากการทำงานในนามของบริษัทฯ ซึ่งอาจทำให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
5.2   การประกอบธุรกิจอื่นนอกบริษัทฯ ความสัมพันธ์กับลูกค้า
ห้ามพนักงานทุกระดับประกอบธุรกิจส่วนตัวใดๆ อันเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทฯ หรือรับปฏิบัติงานใดๆ ให้กับคู่ค้า คู่แข่ง ลูกค้า หรือผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของบริษัทฯ ในอนาคต ซึ่งมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ ทั้งนี้รวมถึงการประกอบธุรกิจอื่น การลงทุน การถือหุ้นอย่างมีสาระสำคัญในกิจการอื่น ซึ่งเป็นคู่ค้า คู่แข่ง ลูกค้า หรือผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของบริษัทฯ ในอนาคตด้วย
5.3   การเปิดเผยการมีส่วนได้เสีย
ในการตกลงเข้าทำรายการธุรกิจ หรือการกระทำใดๆ หากกรรมการ หรือพนักงานคนใดมีส่วนได้เสียในการทำรายการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อม จะต้องเปิดเผยส่วนได้เสียต่อบริษัทฯ ก่อนการทำรายการดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้รวมถึงการประกอบธุรกิจอื่น การลงทุน การถือหุ้นอย่างมีสาระสำคัญในกิจการอื่น ซึ่งเป็นคู่ค้า คู่แข่ง ลูกค้า หรือผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของบริษัทฯ ในอนาคตด้วย
5.4   การดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทอื่น
กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่น หรือจะเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่น ต้องเปิดเผยการดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อบริษัทฯ ยกเว้นการดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยที่การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นจะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย หรือข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่งานในบริษัทฯ ไปใช้ในการอ้างอิงต่อการดำเนินธุรกิจภายนอก
5.5   การใช้ข้อมูลภายในและการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุดคน ทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลลับที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ สำหรับบริษัทจดทะเบียน ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารภายในอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อประชาชน เพื่อแสวงหากำไรหรือประโยชน์ส่วนตน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1) คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ต้องรักษาความลับและหรือข้อมูลภายในของบริษัทฯ
2) คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ต้องไม่นำความลับและหรือข้อมูลภายในบริษัทฯ ไปเปิดเผยหรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเอง  หรือเพื่อผลประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และไม่ว่าจะได้รับผลตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
3) คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ต้องไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ โดยใช้ความลับและหรือข้อมูลภายใน   บริษัทฯ และหรือเข้าทำนิติกรรมอื่นใด โดยใช้ความลับ หรือข้อมูลภายในของบริษัทฯ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทฯ โดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดช่วงเวลาห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ ไว้อย่างน้อย 7 วันก่อนเผยแพร่งบการเงิน
4) บริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการ และผู้บริหารมีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกำหนดให้การนำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน มีโทษตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535

5.6  การให้ข้อมูลข่าวสาร หรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน หรือต่อสาธารณชน
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณชนต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการผู้จัดการ โดยกรรมการผู้จัดการจะต้องเป็นผู้ตอบเอง หรือมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือตอบคำถาม หากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ร่วมทุนอื่นๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ร่วมด้วย หน่วยงานกลางที่เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่สาธารณชน ได้แก่ นักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) โดยมีหน่วยงานภายในมีหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่พนักงาน และประสานข้อมูลกับกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการเงิน ก่อนมีการเผยแพร่
5.7  รายการระหว่างกันในกลุ่มบริษัท
บริษัทฯ มีแนวทางการพิจารณาความเหมาะสมของการทำรายการระหว่างกันในกลุ่มบริษัท โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกันเสมอ โดยผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบจากคณะกรรมการตรวจสอบทุกครั้ง รวมทั้งมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์
5.8   การให้หรือรับของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด และการเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ
พนักงานทุกคนต้องไม่เรียก รับสินบน หรือให้สินบนแก่ผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ตนรับผิดชอบทั้งทางตรง หรือโดยอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ในทางมิชอบ การรับและการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด รวมถึงการเลี้ยงหรือรับเลี้ยงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ให้สามารถกระทำได้ในวิสัยอันควร ในเทศกาลหรือประเพณีนิยม และไม่ให้เรียกร้องหรือรับไม่ว่ากรณีใดๆ ที่ผิดไปจากธรรมเนียมปฏิบัติหรือเกินความเหมาะสม นอกเหนือจากผลตอบแทนอันพึงได้จากบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติด้วยความลำเอียง
5.9   การบริจาคเพื่อการกุศล และการให้การสนับสนุน
การให้เงินหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ จะต้องระบุชื่อให้การสนับสนุนในนามบริษัทฯ เท่านั้น โดยเงินสนับสนุนที่จ่ายไป ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงที่ดีของบริษัทฯ ทั้งนี้ ให้การเบิกจ่ายจะต้องระบุวัตถุประสงค์การสนับสนุนที่ชัดเจน มีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ และดำเนินการผ่านตามกระบวนการขึ้นตอนตามระเบียบของบริษัทฯ อย่างถูกต้องเท่านั้น

    1. การป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชั่น
      ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ดำเนินการหรือยอมรับ หรือการให้การสนับสนุนการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม หากพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริต หรือส่อไปทางทุจริต ผู้พบเห็นจะต้องไม่ละเลยเพิกเฉยต่อพฤติกรรมดังกล่าว โดยต้องดำเนินการแจ้งผ่านช่องทางที่บริษัทฯ กำหนดภายในบริษัท
      • รายงานต่อผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับขั้น
      • กล่องรับแจ้งเบาะแส / กล่องร้องเรียน
      • E-mail : [email protected]
      • จดหมายถึงกรรมการผู้จัดการภายนอกบริษัท
      • ทางโทรศัพท์ : 02-681-6181 ต่อ 3501
      • E-mail : [email protected]
      • ทางไปรษณีย์ : จดหมายถึงกรรมการผู้จัดการ
      บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)
      88/8 ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา
      กรุงเทพฯ 10120
      (บริษัทฯ จะรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ เพื่อไม่ให้ผู้แจ้งเบาะแสได้รับความเดือดร้อน)
    2. การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
      บริษัทฯ กำหนดนโยบายในป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแนวทางปฏิบัติที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัดบริษัทฯ ป้องกันไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ประพฤติผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน การก่อการร้าย หรืออาชญากรรมทางการเงินอื่นๆ โดยการจัดทำระเบียบการปฏิบัติงาน เพื่อให้พนักงานที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า และจัดการกับการทำธุรกรรมของลูกค้า ได้ปฏิบัติตามนโยบายนี้ และป้องกันการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3. กิจกรรมทางการเมือง
      กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องไม่กระทำการอันใดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองภายในบริษัทฯ และไม่ใช่ทรัพยากรใดๆ ของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ เป็นองค์กรที่ยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง สนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รวมถึงไม่มีแนวทางในการให้ความช่วยเหลือทางการเมืองแก่พรรคการเมืองใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
    4. การปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทฯ และการดูแลทรัพย์สินของบริษัทฯ
      กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ทุกระดับ ต้องรับผิดชอบในการดูแลทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดประหยัด และไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ระมัดระวังมิให้เอกสาร หรือข่าวสารอันเป็นความลับของบริษัทฯ รั่วไหล อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียแก่บริษัทฯ
    5. การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
      บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ โดยมีฝ่ายตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่การตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงาน และกิจกรรมที่สำคัญของบริษัทฯ ได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดและมีประสิทธิภาพ มีความเป็นอิสระสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ คณะกรรมการบริษัทจึงกำหนดให้ฝ่ายตรวจสอบภายในรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และได้รับการประเมินผลจากคณะกรรมการตรวจสอบด้วยคณะกรรมการบริษัทประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในทั้ง 5 ด้าน เป็นประจำทุกปี ได้แก่ การควบคุมภายในองค์กร ประเมินความเสี่ยง การควบคุมการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศ และการสื่อสารข้อมูล และระบบการติดตาม โดยบริษัทฯ จัดให้มีทรัพยากรอย่างเพียงพอที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม สำหรับการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    6. การกำกับดูแลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ
       แนวทางการเสริมสร้างจรรยาบรรณธุรกิจ
      • บริษัทฯ จัดทำคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเผยแพร่ทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้พนักงานทุกคนทุกระดับศึกษาทำความเข้าใจ จากนั้นลงนามรับทราบจรรยาบรรณฉบับนี้ และยึดถือเป็นหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติงาน
      • บริษัทฯ กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ
      • ปลูกฝังค่านิยมขององค์กร และสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ส่งเสริมคุณค่าทางจริยธรรม ดังนี้
      – กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้างาน ของบริษัทฯ วางตนเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
      – เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักรู้ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม โดยดำเนินการผ่านกิจกรรมการอบรม เช่น การกำหนกให้การอบรมความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่พนักงานทุกคนต้องได้รับการอบรม เป็นประจำทุกปี
      – กำหนดแนวทางการดำเนินการสำหรับกรณีที่เกิดปัญหาทางด้านจรรยาบรรณ อันได้แก่ การรับข้อร้องเรียน การสืบสวนสอบสวน การคุ้มครองผู้แจ้งข้อร้องเรียน และบทลงโทษ
      – มีกระบวนการตรวจสอบ การประเมินการควบคุมภายใน และการประเมินการปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรยังคงยึดมั่นในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดอย่างเพียงพอ และเหมาะสม
    1. การรายงานการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ

ช่องทางการรับแจ้ง
ในกรณีที่พบการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ พนักงานทุกคนต้องรายงานการฝ่าฝืนที่พบผ่านช่องทางการร้องเรียนของบริษัทฯ ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

    1. แจ้งผ่านช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนและเบาะแสนทางหน้าเว็บไซต์ของบริษัทฯ https://www.wice.co.th/contact/ หรือ
    1. ส่งจดหมายถึงผู้รับข้อร้องเรียน ที่ประธานกรรมการตรวจสอบ หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือเลขานุการบริษัท หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล
      การดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง
      บริษัทฯ มีนโยบายการรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส การกระทำผิดหรือการทุจริต สำหรับเป็นแนวทางในการรับข้อร้องเรียน สืบสวนข้อเท็จจริง และพิจารณาบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเป็นธรรมทั้งนี้ บริษัทฯ เปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มสามารถแจ้งร้องเรียน หากพบเห็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ โดยมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตามนโยบายการให้การคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลตามที่บริษัทฯ กำหนด
      การให้ความคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล
      บริษัทฯ มีมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูล ผู้รายงานการประพฤติผิดจรรยาบรรณ และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
      1. บริษัทฯ คุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้ที่แจ้งข้อมูลอย่างเต็มความสามารถ จะไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่สามารถระบุตัวผู้ให้ข้อมูลได้ และเก็บรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับโดยจะจำกัดการเข้าถึงข้อมูลให้เฉพาะผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องที่ร้องเรียนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
      2. บริษัทฯ จะเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น โดยจะคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ความปลอดภัยของผู้ให้ข้อมูล แหล่งข้อมูลและบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ
      3. ผู้ร้องเรียน ผู้ที่แจ้งข้อมูล แหล่งข้อมูล และบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีสิทธิไดรับการชดเชย การบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการคุ้มครองที่เหมาะสมและเป็นธรรม
      4. ผู้ได้รับข้อมูลเรื่องร้องเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการสืบหาข้อเท็จจริง มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลรายละเอียดข้อร้องเรียน รวมทั้งเอกสารหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่ทางกฎหมายกำหนด

การปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ

      ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือประสบปัญหาในการตัดสินใจหรือปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่ได้กำหนดไว้ ขอให้ใช้ดุลยพินิจเบื้องต้น โดยการตั้งคำตามเกี่ยวกับการกระทำนั้นกับตนเองก่อนยุติการดำเนินการดังนี้

  1. การกระทำนั้นขัดต่อกฎหมายหรือไม่
  2. การกระทำนั้นขัดต่อนโยบายและวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทฯ หรือไม่
  3. การกระทำนั้นเป็นที่ยอมรับและสามารถเปิดเผยต่อสังคมได้หรือไม่
  4. การกระทำนั้นทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัทฯ หรือไม่
  5. การกระทำนั้นส่งผลเสียต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ อย่างร้ายแรง หรือไม่

หรือสอบถามผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น ซึ่งมีหน้าที่ให้คำแนะนำในขั้นต้น หรือสอบถามโดยตรงไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ

บทลงโทษ

ภายหลังการสืบสวนข้อเท็จจริง หากพบว่าผู้ถูกร้องเรียนมีการประพฤติผิดจรรยาบรรณจริงตามที่ถูกกล่าวหา จะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามที่กำหนดภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ โดยคำพิจารณาโทษของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการถือเป็นที่สิ้นสุด และหากการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายด้วย

บริษัทฯ ห้ามมิให้พนักงาน หรือบุคคลใด กล่าวหา หรือแจ้งความเท็จอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หากบริษัทพบว่า การแจ้งข้อร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแส หรือการให้ข้อมูลใดๆ ที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาไม่สุจริตเป็นเท็จ และจงใจให้เกิดความเสียหาย ผู้แจ้งความเท็จจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยตามที่กำหนดภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ

 

นิยามและคำจำกัดความ

บริษัทฯ หมายถึง บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทย่อย หมายถึง

  • บริษัทที่บริษัทฯ ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
  • บริษัทที่บริษัทตาม 1) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
  • บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอดๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม 2) ในบริษัทที่ถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจำนวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
  • บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม 1) 2) หรือ 3) ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
  • บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม 1) 2) 3) หรือ 4) มีอำนาจควบคุมในเรื่องการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทนั้น การถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทตาม 1) 2) 3) หรือ 4) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย

 

บริษัทในเครือ หมายถึง บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

กรรมการบริษัทฯ หมายถึง กรรมการบริษัท บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)

ผู้บริหาร หมายถึง ผู้บริหารของบริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

พนักงาน หมายถึง พนักงานของบริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ในด้านต่างๆ อันประกอบด้วย     ผู้ถือหุ้น คู่ค้า ลูกค้า คู่แข่ง เจ้าหนี้ ลูกหนี้ พนักงาน ชุมชน และสังคม

จรรยาบรรณธุรกิจ หมายถึง แนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ และ สะท้อนถึงคุณค่า วัฒนธรรมขององค์กร

รายการที่เกี่ยวโยงกัน หมายความว่า รายการระหว่างบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ หรือรายการระหว่างบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทย่อย

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมหรือสถานการณ์ใดๆ ที่อาจมีความต้องการส่วนตัว หรือของบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อการปฏิบัติหน้าที่และส่งผลกระทบต่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ