หน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการบริษัทฯ

หน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการบริษัทฯ

  1. คณะกรรมการมีหน้าที่ตามข้อบังคับของบริษัท ซึ่งรวมถึงการดูแลและจัดการบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  2. คณะกรรมการของบริษัทต้องรายงานส่วนได้ส่วนเสียของตนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อยซึ่งสามารถตรวจสอบได้
  3. คณะกรรมการบริษัทกำหนด วิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ แผนงาน และทิศทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทและการต่อต้านการทุจริตตลอดจนกำกับดูแลการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ อีกทั้งประเมินผลและปรับปรุงเพื่อความมีประสิทธิภาพของการดำเนินกิจการ
  4. อนุมัตินโยบายการกำกับดูแลกิจการ และควบคุมดูแลการกำกับดูแลกิจการ ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการ
  5. อนุมัติการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ การลงทุน การเลิกกิจการ และธุรกรรมเกี่ยวกับการจ่ายโอนทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงและมีผลกระทบสูงต่อบริษัท ให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์บริหารความเสี่ยง ตลอดจนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  6. ดูแลให้มั่นใจและติดตามนโยบายการแจ้งเบาะแสและระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ
  7. อนุมัติกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี และดูแลให้มีการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยงตลอดจนโครงสร้างค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง
  8. จัดให้มีระบบบัญชีการรายงานทางการเงินและการสอบบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ และติดตามดูแลสภาพคล่องงทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งแผนหรือกลไกในการแก้ไขหากเกิดปัญหา
  9. กำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตราการรักษาความมั่งคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  10. คณะกรรมการบริษัท รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูงร่วมประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นการปฏิบัติตามกฎหมาย และความซื่อสัตย์สุจริต
  11. รายงานให้บริษัทฯ ทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนได้เสียเกี่ยวกับการบริหารจัดการของบริษัท หรือบริษัทย่อย
  12. พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานต่อเนื่องเข้าอบรมหรือเข้าร่วมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการหรือกิจกรรมสัมมนาที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
  13. สนับสนุนให้บริษัท มีการดำเนินงนในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบเพื่อความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
  14. พิจารณาเลือกและแต่งตั้งผู้มีความเหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งประธาน และกรรมการ จากผู้ทีได้รับการเสนอชื่อโดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
  15. ดูแลการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ประจำปีของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะและกรรมการเป็นราบุคคล ทั้งวิธีประเมินตนเองและวิธีประเมินแบบไขว้ หรือการประเมินโดยผู้ประเมินภายนอก (หากจำเป็น)
  16. พิจารณาเลือก แต่งตั้ง และประเมินผู้มีความเหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตลอดจนแผนสืบทอดตำแหน่งจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อโดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
  17. ร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในภาพรวมของบริษัทที่คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และทำให้มั่นใจว่ากลยุทธ์ต่างๆ ถูกนำไปปฏิบัติอย่างสอดคล้องกันภายใต้นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างคุณค่าระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้น
  18. พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร และคณะกรรมการบริหาร เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
  19. พิจารณาแต่งตั้งเลขานุการบริษัทเพื่อดูแลรับผิดชอบงานต่างๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัท และจัดการงานอันสำคัญของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท รวมถึงการติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริษัท จัดประชุมคณะกรรมการบริษัทและประชุมผู้ถือหุ้น ส่งหนังสือเชิญประชุม บันทึกรายงานการประชุม และหน้าที่อื่นๆ ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจดำเนินการ เพิ่มเติม ดังนี้

  • อำนาจอนุมัติการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงและการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัท ตามที่กฎหมายและคณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
  • อำนาจอนุมัติการขายหรือโอนกิจการของบริษัท ทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น
  • อำนาจอนุมัติการซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นมาเป็นของบริษัท
  • อำนาจอนุมัติการเพิ่มเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ หรือข้อบังคับของบริษัท
  • อำนาจอนุมัติการเพิ่มทุน / ลดทุนจดทะเบียน
  • อำนาจอนุมัติการออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายต่อประชาชน
  • อำนาจอนุมัติการเลิกบริษัท / การควบเข้ากับบริษัทอื่น
  • พิจารณางบประมาณประจำปี
  • การประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี