7 ความเคลื่อนไหวน่าจับตามอง ของ ธุรกิจ Logistics ของตลาดโลก ในปี 2018

7 ความเคลื่อนไหวน่าจับตามอง ของ ธุรกิจ Logistics ของตลาดโลก ในปี 2018

พูดได้เลยว่า ยุคต์สมัยเปลี่ยนไปเร็วมาก ในปี 2018 เทคโนโลยีได้พัฒนาเข้าสู่ยุคต์ 4.0 เป็นที่เรียบร้อยแล้วและ ปฎิเสธไม่ได้ ว่า ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากเหลือเกิน กับธุกิจ หรือ อุตสาหกรรม รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) นับตั้งแต่ได้มีการก้าวเข้าสู่ยุคต์ดิจิตัล การเคลื่อนย้าย หรือนำจ่ายสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภค ก็มีการเปลี่ยนแปลงมากเช่นกัน เพราะโลจิสติกส์ถือเป็นจุดสำคัญในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งในปัจจุบันมีการในเทดโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือกันอย่างแพร่หลาย และแน่นอนพวกเราต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วันที่จะเกิดขึ้น มาดูกันว่าความเคลื่อนไหวด้านโลจิสติกส์ ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

 

  1. อินเตอร์เน็ตคือทุก ๆ สิ่ง (Internet of things หรือ IoT)

คือ เครือข่าย วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และเซ็นเซอร์ ทำงานร่วมกัน สามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว พูดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งก็เลี่ยงไม่ได้ว่า มีการใช้กันอย่างมากมายเพราะ เจ้าสิ่งนี้มีความแม่นยำสูง เช่น การตรวจสอบสถานะการขนส่ง RFID, GPS ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของงานขนส่งหรืออุตสาหกรรม  ทั้งเรื่องเส้นทาง พนักงาน หรือแม้กระทั่ง การจัดเก็บสินค้า ช่วยเพิ่มความแม่นยำและ ประหยัดเวลา ได้ดีมาก ๆ

  1. เครื่อข่ายการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (Blockchain)

คือ การเชื่อโยงข้องมูลของห่วงโซ่ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และมีความปลอดภัยสูง มีความโปร่งใสในการเก็บข้อมูลของธุรกิจต่าง ๆ แน่นอนว่าในวันข้างหน้าบทบาทของสิ่งนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในธุรกิจโลจิสติกส์ ตัวอย่างเช่น การเก็บรักษาข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ของลูกค้า ข้อมูลสินค้า รายละเอียดต่าง ๆ และอีกมากมาย ซึ่งสามารถ ระบุ ID เพื่อการติดตาม และป้องกันการหลอกลวงเพื่อเอาข้อมูล

  1. โลจิสติกส์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

คือ ความยืดหยุ่นในการขยายหรือลดความสามารถด้านโลจิสติกส์ เพื่อสวดคล้องกับความต้องการในระยะเวลาที่กำหนด เพราะในปัจจุบัน ตลาดมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นระบบการใช้ อุปกรณ์ที่สามารถตัดสินใจแทนเราได้ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการ ควบคุม หรือกำหนดค่าใช้จ่าย การดูและโกดังสินค้า การจัดจำหน่าย การลำดับในการส่งหรือนำจ่ายสินค้า และอีกมากมาย เพราะการดำเนินธุรกิจต้องดำเนินกันวันต่อวัน ส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์ต่าง ๆ ต้องสร้างความยืดหยุ่นเพื่อรองรับความต้องการตรงนี้ ซึ่งจะช่วยให้เราตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น และสมามารถมองเห็นภาพกันอย่าง Real Time สามารถเชื่องโยง ธุรกิจทั้งหมดให้เกิดความคลองตัวมากขึ้นอย่างชัดเจน

  1. ความสมบูรณ์ในการจัดส่งสินค้า

ความเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ ความสมบูรณ์แบบของการทำงาน ซึ่งแต่ละองค์กรทราบดีว่าเป็นความต้องการและสิ่งที่คาดหวังของลูกค้ามากที่สุด ได้จากการวัดความพึงพอใจของลูกค้าในการให้บริการของเราเอง ว่ามากน้อยแค่ไหนในการจัดส่ง และต้องมีความถูกต้องในการกระจายสินค้า หรือบรรจุ เพื่อไปยังสถานที่ ที่ถูกต้อง ตามจำนวนที่ถูกต้อง ความสมบูรณ์และถูกต้องของเอกสาร และ สินค้าไม่มีคามเสียหาย อีกด้วย

  1. การใช้ Big Data มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก

ความกังวลที่จะจัดเก็บข้อมูลใน Could จะไม่เกิด เมื่อทั้งองค์กรมีความร่วมมีอกันในการใช้ระบบจัดการด้วย Could ซึ่งเปรียบเสมือน Drive กลางที่ทุกคนสามารถเข้าไปแชร์ข้อมูล ปรับเปลี่ยน แก้ไข คัดลอก ได้ตามต้องการ และ ไม่จำกัดสถานที่ เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างมีคุณภาพและรวดเร็วขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารของแต่ละองค์การสามารถเข้ามาพลักดันต้นทุน ด้านที่เกี่ยวข้องกับงาน โลจิสติกส์ และมีข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคาระห์ได้ชัดเจนเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  1. จุดเริ่มต้นในการใช้ AI เพื่อบริหารจัดการแทนมนุษย์

การนำเครื่องกลมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ เป็นการช่วยลดการใช้แรงงานมนุษย์ ในการทำสิ่งที่เกินความสามารถ และยังดำเนินการได้ด้วยการสั่งการเพียงครั้งเดียวหรือ ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และยังช่วยเพิ่มประสทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้นและง่ายขึ้นด้วย ในปัจจุบันมีหลายอุตสาหกรรมที่นำเครื่องกล และ อุปกรณ์เหล่านี้มาเพื่อควบคุม หรือเพิ่มประสิทธิในเนื้องาน ทั้งนี้ระบบต่าง ๆ จะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อองค์กรนั้น ๆ มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และอาจจะทำอะไรได้มากขึ้นด้วยซ้ำ

  1. การจัดการรายได้ทั้งหมดของทุกส่วนงาน

คือ การรวบร่วมข้อมูลทุกอย่างที่ออกไป ทั้งส่วนงานออนไลน์หรือออฟไลน์ เข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างความั่นใจให้กับ องค์กร และลูกค้า เป็นการทำ CRM ยุคใหม่โดยการผสมผสานการทำงานออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เช่น ลูกค้าสามารถ สั่งงานออน์ไลน์ได้และสามารถ รับของได้ด้วยตัวเอง (Site-to-Store)

 

ทั้งนี้ ห่วงโซ่อุปทานของ ธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เมื่อหลาย ๆ องค์กร เช่น Amazon ยอมลงทุนมหาศาลกับเจ้า E-Commerce เพื่อหวังเป็นเส้นทางในการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด และเพิ่มยอดขายให้กับองค์กร ธุรกิจโลจิสติกส์ อย่างเรา ๆ ต้องเตรียบตัวรับการจัดการด้านโลจิสติกส์ด้วย ซึ่งอาจจะมาได้จากหลากหลายช่อวทางและหลายรูปแบบมากขึ้น กว่าในปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถวัดความรุนแรงของผลกระทบได้ ว่าจะเป็นในด้าน + หรือ – แต่สิ่งสำคัญคือ ทุกคนพร้อมหรือเปล่าที่จะรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งนี้

Apinat T.
WICE Logistics