เตรียมตัวเป็นผู้นำเข้าสินค้า ตอนที่ 2 (ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้า)

ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้ามีอะไรบ้าง?

สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการนำเข้าสินค้ามากนัก ควรสั่งสินค้าโดยขอให้ผู้ขายเสนอราคาขายโดยเลือกเป็นรูปแบบการส่งสินค้าเป็นแบบ CIF (Cost Insurance Freight) ที่ให้ผู้ขายต้นทางนั้นจ่ายค่า Freight (หรือเรียกกันว่าค่าระวาง ซึ่งเป็นค่าขนส่งสินค้าที่ผู้ส่งหรือผู้รับสินค้าจะต้องชำระก่อนส่งสินค้า) และค่าประกันภัยให้เรียบร้อย โดยจะให้ผู้ขายรวมไปกับราคาสินค้าเลยก็ได้เพื่อความสะดวก นอกจากนี้ในการนำเข้าสินค้ายังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เราควรคำนึงถึงดังนี้

1. ค่าภาษีนำเข้า

สินค้าประเภท BOI, คลังทัณฑ์บน, FORM A, FORM E, FORM D ก็อาจจะมีส่วนลด หรือไม่ต้องเสียภาษีเลย

ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะใช้สำหรับสินค้าทั่วไป หรือสินค้าพวกวัตถุดิบธรรมดาเท่านั้น โดยจะต้องจ่ายภาษีนำเข้าด้วยการคำนวณดังนี้

ภาษีนำเข้า = (ราคานำเข้าสินค้าบนใบ Invoice x อัตราแลกเปลี่ยน) x อัตราภาษี + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

แต่ก็มีกรณียกเว้น เช่น เป็นสินค้าประเภท BOI, คลังทัณฑ์บน, FORM A, FORM E, FORM D ก็อาจจะมีส่วนลด หรือไม่ต้องเสียภาษีเลย

2. ค่ารับ D/O

D/O หรือ Delivery Order (ใบตราส่งสินค้า) เป็นตราสารที่ผู้รับขนสินค้าต้องออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กรณี คือ

  • FCL – Full Container Load หมายถึง การบรรทุกสินค้ามาเต็มตู้ จะเสียค่านำตู้สินค้ามาลงไว้ที่ท่าเรือ
  • LCL – Less Container Load หมายถึง การบรรทุกสินค้ามาแบบไม่เต็มตู้ จะเสียค่าสินค้าเข้าโกดังพักสินค้า และออกเอกสารรับรองว่าเราเป็นมีสิทธิรับสินค้านั้นๆ

ส่วนค่า D/O จะอยู่ที่อัตราดังนี้

2.1 ทางเรือ

  • ตู้ 20 ฟุต ใช้อัตรา 4,000 – 5,000 บาท ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย
  • ตู้ 40 ฟุต ใช้อัตรา 5,000 – 6,000 บาท ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย
  • ถ้าเป็นกรณี LCL จะเริ่มต้นสินค้าที่ 1 CBM (ลูกบาศก์เมตร) ใช้อัตรา 3,500 – 4,500 บาท และคิดส่วนที่เกินที่ประมาณ 1,500 บาท ขึ้นอยู่กับการต่อรองของแต่ละบริษัท

2.2 ทางอากาศ

  • จะมีค่า D/O ประมาณ 300 – 1,000 บาทขึ้นไป โดยจะขึ้นอยู่กับการต่อรองของแต่ละบริษัท

3. ค่าภาระท่าเรือ

ค่าใช้จ่ายนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสินค้าอยู่ในท่าเรือ ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียม และค่าเก็บรักษาสินค้าของการท่าเรือ

4. ค่ารถ

ในกรณีที่เราใช้บริการของรถส่งสินค้าให้ไปรับจากท่าเรือเพื่อไปส่งตามสถานที่ที่เราต้องการ โดยส่วนมากจะคิดตามระยะทาง

5. ค่าธรรมเนียมศุลกากร

กรมศุลกากรจะเก็บค่าธรรมเนียมใบขนส่งสินค้าใบละ 200 บาท

ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากการขนส่งปกติมีดังนี้

5.1 ใบอนุญาต

เราจะต้องเสียค่าใบอนุญาต เช่น อ.ย., วัตถุอันตราย, เครื่องมือการแพทย์ และอื่นๆ ถ้าหากสินค้าของเราจำเป็นต้องมีใบอนุญาตเหล่านี้

5.2 ค่าล่วงเวลา

การดำเนินเรื่องต่างๆ กับทางศุลกากรและทางทางเรือนั้นควรดำเนินการก่อน 16.00 น.

การดำเนินเรื่องต่างๆ กับทางศุลกากรและทางทางเรือนั้นควรดำเนินการก่อน 16.00 น. ถ้าหากขอหลังจาก 16.30 น. นั้นจะต้องเสียค่าล่วงเวลาด้วย

5.3 ค่าคืนตู้

เมื่อต้องมีการส่งคืนตู้ที่ท่าเรือจะต้องเสียค่าคืนตู้ให้กับแต่ละลานที่เราได้ตกลงไว้ ซึ่งบางรายจะต้องเสียค่าล้างตู้ในอัตรา 300 – 1,200 บาท และยิ่งถ้าคืนตู้ล่าช้าก็จะมีค่าปรับเพิ่มเข้าไปด้วย โดยตู้แบบ LCL จะไม่ต้องเสียเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

• • •

ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนในเบื้องต้นของธุรกิจการนำเข้าสินค้า รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ ที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเองในทุกกระบวนการ โดยไม่ต้องพึ่งพาบริการกับทางบริษัทที่รับนำเข้าและดำเนินการให้ แต่ว่าถ้าเราคำนวณเรื่องของเวลาแล้ว บางครั้งการใช้บริการจากบริษัทนำเข้าก็อาจทำให้เรามีเวลาเพียงพอที่จะไปใส่ใจในด้านอื่นๆ ของธุรกิจได้มากกว่า ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ประกอบการ เพราะทั้งสองวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป

ที่มา: http://incquity.com/articles/importing-biz-1