เตรียมตัวเป็นผู้นำเข้าสินค้า ตอนที่ 1

ธุรกิจนำเข้าสินค้ากลายเป็นโมเดลธุรกิจอย่างง่ายๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจประเภท “ซื้อมา-ขายไป” แต่มีรากฐานอยู่บนสินค้าที่มีความแตกต่างด้านคุณภาพหรือความมีเสน่ห์แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดด้วยความเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ธุรกิจนี้จึงมีลู่ทางพอให้เริ่มทำและต่อยอดได้มากพอสมควร

ในบทความชุดนี้จะเป็นการเตรียมความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินค้านำเข้า ตั้งแต่ขั้นตอนในการการเตรียมเอกสารเพื่อขอทำธุรกิจนำเข้าสินค้า และส่วนที่เหลือจะว่าด้วยวิธีทางการโอนถ่ายสินค้า การตรวจสอบสินค้าที่นำเข้ามา เรื่องเกี่ยวกับภาษีการนำเข้า ไปจนถึงเรื่องของการดำเนินการติดต่อกับทางท่าเรือ ซึ่งแม้จะมีขั้นตอนจำนวนหนึ่งแต่ก็มีความเป็นมาตรฐานที่หากเรามีความเข้าใจแล้ว ส่วนที่เหลือก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ธุรกิจนำเข้าสินค้าเป็นอย่างไร ?

ธุรกิจการนำเข้าสินค้านั้น เป็นธุรกิจที่ทำการซื้อขายสินค้ามาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหายาก หรือสินค้าที่มีต้นทุนราคาถูกมาขายในประเทศไทย โดยส่วนมากนั้นจะนำเข้ามาทางเรือจากประเทศจีน หรืออาจผ่านทางเครื่องบิน ซึ่งสินค้าเหล่านี้มักจะมาจากทางโรงงานโดยตรงเพื่อที่จะได้ราคาต้นทุนที่ถูกลงไปอีก

ในปัจจุบันนั้นมีบริษัทขนส่งสินค้ามากมายให้เลือกใช้บริการในกรณีที่ไม่ต้องการพบกับความยุ่งยากทั้งหลาย ซึ่งส่วนมากก็จะมีราคาแตกต่างกันออกไป ตามรูปแบบของการขนส่งเช่น คิดจากระยะทาง หรือคิดจากน้ำหนักของสินค้า ถ้าจะใช้บริการเหล่านี้ก็ควรเลือกที่เหมาะสมกับสินค้าของเรา ส่วนผู้ที่สนใจอยากลองศึกษาดูเองก็มีข้อมูลดังนี้ใบขนสินค้าขาเข้า

ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?

  1. ใบตราส่งสินค้า
  2. บัญชีราคาสินค้า
  3. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ
  4. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
  5. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)
  6. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น

ขั้นตอนนำสินค้าเข้า

หลังจากที่เตรียมเอกสารทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมาดำเนินการภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต

หลังจากที่เตรียมเอกสารทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมาดำเนินการภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษแต่อย่างใด ซึ่งโดยทั่วไปมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. การโอนถ่าย หรือยื่นข้อมูลใบขนสินค้า

ในขั้นตอนแรกนั้นผู้ที่นำสินค้าเข้าจะต้องบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ของทุกๆ รายการเข้าไปในผ่านทางระบบ Service Counter ซึ่งโปรแกรมนี้จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าให้อัตโนมัติ โดยผู้นำสินค้าเข้านั้นสามารถใช้เอกสารใบขนส่งสินค้าที่ถูกแปลงข้อมูลมานำส่งทางกรมศุลกากรผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เลย

จากนั้นเมื่อกรมศุลกากรได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นในใบขนส่งสินค้า เพื่อดูว่า ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้านั้นมีความถูกต้องหรือไม่ ถ้าหากมีการพบว่าข้อมูลที่เรากรอกไปนั้นยังมีข้อผิดพลาด ทางกรมศุลกากรก็จะแจ้งข้อมูลเหล่านั้นกลับมาเพื่อให้เราได้แก้ไขให้ถูกต้องเพื่อส่งไปให้กับทางกรมศุลกากรใหม่อีกครั้ง ซึ่งเมื่อพบว่าข้อมูลของเราถูกต้องครบถ้วนแล้ว ก็จะออกใบเลขที่ขนสินค้าขาเข้าให้กับเรา

2. การตรวจสอบพิสูจน์ข้อมูลอย่างละเอียด

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้อย่างละเอียด โดยจะดูจากข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เราได้ยื่นให้กับกรมศุลการกร ซึ่งในขั้นตอนนี้สินค้าของเราจะถูกแยกเป็น 2 ประเภทคือ

  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) ซึ่งถ้าสินค้าเราอยู่ในประเภทนี้ เราสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าของเราเข้าไปชำระภาษีอากร และวางประกันที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถเลือกชำระได้ที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือจะชำระที่ธนาคารก็ได้
  • ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) ในส่วนของใบขนสินค้าประเภทนี้ เราต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำเข้าสินค้านั้นๆ

3. การตรวจและการปล่อยสินค้า

หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการตรวจสอบความเรียบร้อย สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือ

เมื่อผ่านการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการตรวจและปล่อยสินค้าจากทางศุลกากร ซึ่งข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบความถูกต้องอย่างละเอียดอีกครั้ง พร้อมทั้งผ่านการเปิดตรวจ หรือยกเว้นการตรวจถ้าหากใบขนสินค้านั้นได้รับการยกเว้น โดยหลังจากผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือที่เราได้กำหนดไว้

 

 

 

ที่มา: http://incquity.com/articles/importing-biz-1