เจาะลึกเส้นทางและจุดเด่นของ WICE Cross Border Service

เจาะลึกเส้นทางและจุดเด่นของ WICE Cross Border Service

จากบทที่แล้ว ได้เกริ่นนำเกี่ยวกับนิยามและเอกสารสำคัญสำหรับการปฏิบัติพิธีการผ่านแดนในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียไปแล้ว กล่าวได้ว่า Cross Border Service(CBS) หรือบริการปฏิบัติพิธีการผ่านแดน ซึ่งมีทั้งในรูปแบบของ Full Truck Load (FTL) และ LTL (Less Truck Load) กำลังเป็นโอกาสใหม่ของการขนส่งสินค้าไปยังประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก โดย WICE ได้เล็งเห็นถึงเส้นทางยอดนิยมซึ่งได้แก่ พม่าและจีน ที่มีการเติบโตของธุรกิจในกลุ่ม CBS มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้นและการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเศรษฐกิจในภูมิภาค ประเทศไทยซึ่งเป็น Hub หรือศูนย์กลางในการกระจายและขนส่งสินค้าในเขตอาเซียนจึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนในธุรกิจปฏิบัติพิธีการผ่านแดนนี้ การสนับสนุนที่ชัดเจนมากคือ การเปิดคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) หรือพื้นที่กักกันสินค้า ใน 5 เมืองใหญ่นำร่องสำหรับ Cross-Border ได้แก่ที่ เมืองต้าเหลียน, เหอเฟย, เฉิงตู, ชิงเต่า และซูโจว สำหรับการพักสินค้าโดยไม่ต้องเสียภาษี จนกว่าจะมีการนำสินค้าออกและเสียภาษีในอัตราพิเศษ

 

Trade Lane Focus

WICE cross border service trade lane focus

WICE เน้นให้บริการ Cross Border Service (CBS) ผ่านสองเส้นทางหลัก ได้แก่ พม่า (ย่างกุ้ง) และจีน (เซี่ยงไฮ้) สู่เส้นทางย่อย โดยเน้นการให้บริการด้วยโซลูชั่นที่ตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้า พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติการให้แม่นยำ ถูกต้อง ตู้คอนเทนเนอร์ของ WICE ประกอบไปด้วยระบบ GPS มีการแทรคกิ้งและดูแลจัดการเส้นทางการเดินทางของรถบรรทุกตลอด 24 ชั่วโมง มีศูนย์การควบคุมเส้นทางในพม่า ไทย เวียดนาม และจีน ถือเป็นบริการที่สร้างความอุ่นใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี

WICE CBS route

WICE CBS route

เส้นทางที่ WICE ให้บริการ Cross Border ประกอบไปด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา จีน ฮ่องกง

CBS Features

Cross Border Service ของไวส์มี Features ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญเพื่อความปลอดภัยของสินค้า มีประสิทธิภาพทั้งด้านราคาและการปฏิบัติการ โดยเน้นไปที่การพัฒนาโซลูชั่นและระบบขนส่งเป็นสำคัญ ดังนี้:

  • ระบบกันสะเทือน (Air suspension) ในรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เป็นตัวช่วยลดอาการสั่นสะเทือนหรือกระโดดขึ้นกระโดดลงของรถที่แล่นไปบนหลุมบ่อให้น้อยลง เพื่อป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ระบบดังกล่าวถูกติดในรถบรรทุกเพื่อความปลอดภัยของสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ ทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าจะได้รับการจัดส่งในทุกขั้นตอนอย่างปลอดภัยจนถึงปลายทาง
  • การขนส่งด้วยรถบรรทุกแบบ Lift On Lift Off หรือ LoLo เป็นการขนส่งสินค้าโดยไม่มีการเปิดตู้(Transloading) ในแต่ละพิธีการในชายแดนและระหว่างการขนส่ง ยกเว้นแต่ว่าจะมีการตรวจ Inspection ในด่าน ส่งผลให้ความปลอดภัยของสินค้ามีมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถสร้างความประทับใจจากการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นจุดแข็งสำคัญในการขนส่งประเภท Cross Border Service
  • มีระบบ GPS Tracking ระหว่างทางการจัดส่งสินค้า มีการ Update สถานการณ์ เส้นทางการเดินทางสินค้าของลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ระยะเวลาโดยประมาณที่จะถึงปลายทาง รวมถึงทะเบียนรถบรรทุกที่จัดส่งสินค้า

การเติบโตของธุรกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ล้วนผลักดันให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในต้องปรับตัวและพัฒนาคุณภาพบริการโซลูชั่นให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และตอบรับกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะการให้บริการที่กำลังมาแรงอย่าง Cross Border Service ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะทำให้เกิดผลดีและเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์โดยรวมต่อไป