สินค้าอันตราย (Dangerous Goods) 9 ประเภท
การท่าเรือฯ แบ่งกลุ่มประเภทสินค้าอันตรายตามที่ IMO กำหนดไว้ใน IMDG – Code ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 สินค้าอันตรายที่การท่าเรือฯ ไม่อนุญาตให้ทำการบรรทุกหรือขนถ่ายบริเวณหน้าท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพ
กลุ่มที่ 2 สินค้าอันตรายร้ายแรง (สินค้าอันตรายประเภท ก) การท่าเรือฯ อนุญาตให้ทำการบรรทุกหรือขนถ่ายในบริเวณท่าเรือกรุงเทพได้ แต่ต้องนำออกทันที่ที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือ
กลุ่มที่ 3 สินค้าอันตรายนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มที่ 1 และ 2 (สินค้าอันตรายประเภท ข) การท่าเรือฯ จะรับฝากเก็บ ณ บริเวณที่ท่าเรือกรุงเทพกำหนด โดยมีระยะเวลาในการฝากเก็บไม่เกิน 5 วันทำการ นับจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่าย
ตารางแบ่งกลุ่มสินค้าของท่าเรือกรุงเทพฯ
ประเภท CLASS or SUBCLASS |
กลุ่มสินค้าอันตราย | หมายเหตุ | ||
กลุ่มที่ 1 | กลุ่มที่ 2 | กลุ่มที่ 3 | ||
1. วัตถุระเบิด | ||||
2.1 ก๊าซไวไฟ 2.2 ก๊าซอัด 2.3 ก๊าซพิษ |
||||
3. ของเหลวไวไฟ | * | (*) เป็นของเหลวไวไฟที่มีคุณสมบัติดังนี้ 1. เป็นพิษ 2. จุดวาบไฟต่ำกว่า 10°C |
||
4.1 ของแข็งไวไฟ
4.2 สารที่ลุกไหม้ได้เอง 4.3 สารที่เมื่อเปียกน้ำจะเกิดก๊าซไวไฟ |
**
*** |
(**) มีคุณสมบัติดังนี้ 1. ของแข็งที่ทำปฏิกิริยาได้เอง ประเภท B และ C (Self-reactive Solid type B and C) 2. ของเหลวที่ทำปฏิกิริยาได้เอง ประเภท B และ C (Self-reactive Liquid type B and C) 3. ของแข็งที่ทำปฏิกิริยาได้เอง ประเภท B และ C ต้องควบคุมอุณหภูมิ (Self-reactive Solid type B and C, temperature Controlled) 4. ของเหลวที่ทำปฏิกิริยาได้เอง ประเภท B และ C ต้องควบคุมอุณหภูมิ (Self-reactive Liquid type B and C, temperature Controlled) 5. เป็นพิษ 6. IMO กำหนดให้บรรจุในภาชนะบรรจุที่ 1(Packaging group I) (***) มีคุณสมบัติดังนี้ |
||
5.1 สารอ็อกซิไดซ์ 5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ |
||||
6.1 สารพิษ
6.2 สารแพร่เชื้อ |
**** | (****) เป็นสารพิษที่มีคุณสมบัติติดไฟได้ | ||
7. สารกัมมันตรังสี | ||||
8. สารกัดกร่อน | ***** | (*****) มีคุณสมบัติดังนี้ 1. เป็นพิษและติดไฟได้ 2. เมื่อเปียกน้ำจะเกิดก๊าซไวไฟ 3. เป็นตัวเติมออกซิเจน |
||
9. สารอันตรายเบ็ดเตล็ด และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม |
ที่มา: http://www.cargotrend.co.th/index.php/20101020153/Useful-Informations