การคิดค่าระวางสินค้าสำหรับการขนส่งทางอากาศ

การคำนวณค่าระวาง (Freight) ทางการบรรทุกเป็นไปได้ 2 ลักษณะ

  • คิดจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (Gross Weight) โดยจะมีหน่วยเป็นกิโลกรัม
  • คิดจากน้ำหนักปริมาตร (Volume Weight) คิดจากขนาดของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้า (กว้าง x ยาว x สูง)

สูตรการคิดค่าระวาง

อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า (ที่ได้จากการเปรียบเทียบ)

การคิดค่าระวางต้องนำผลการคำนวณน้ำหนักทั้งสองมาเปรียบเทียบกันแล้วนำน้ำหนักที่ได้จากการเปรียบเทียบสูงสุดมาคูณกับอัตราค่าระวาง

ตัวอย่าง

  1. มีสินค้าอยู่ 6 กล่อง ขนาด 100 x 80 x 90 ซม. น้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (GROSS WEIGHT) 550 กก. น้ำหนักที่จะใช้คิดค่าระวางเป็นเท่าใด
  2. ถ้าต้องการส่งสินค้าทั้งหมดนี้จากกรุงเทพฯ ไปญี่ปุ่นอัตราค่าระวาง กก.ละ 40 บาท จะต้องชำระค่าระวางเท่าใด

วิธีการคำนวณ

น้ำหนักปริมาตร = จำนวนสินค้า x ขนาดของสินค้า / 6000 ลูกบาศก์ ซม. (6,000 คือ ค่ากำหนดเป็นมาตรฐานในการคำนวณสำหรับการขนส่งทางอากาศ)
= 6 x (100 x 80 x 90 cms) / 6000
= 720 กก.

เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (550 กก.) ซึ่งต่ำกว่าดังนั้นให้นำน้ำหนักปริมาตร (720 กก.) มาคูณกับอัตราค่าระวาง

**ฉะนั้นจะต้องชำระค่าระวาง 720 X 40 = 28,800 บาท