การคิดค่าระวางสินค้าสำหรับการขนส่งทางเรือแบบ LCL และการคำนวณ CBM

LCL (LESS THAN CONTAINER LOAD) หมายถึง นายหน้า หรือ ตัวแทนรับจัดการขนส่ง หรือ freight forwarder ทำการ ซื้อค่าระวางเรือ ในราคาขายส่ง หรือเหมามาหนึ่งตู้ ขนาด 20 ฟุต หรือ 40 ฟุต แล้วมาแบ่งขายปลีก เป็นราคาต่อ ลูกบาศก์เมตร ตามขนาดของสินค้า กว้าง x ยาว x สูง หรือ ต่อ น้ำหนัก ต่อ ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม (Per CBM Per Ton)

การคำนวณน้ำหนักปริมาตร (Weight Ton) เป็นค่าลูกบาศก์เมตร (CBM) โดยมากมักจะใช้กับสินค้าที่มีลักษณะ Bulk คือ มีลักษณะเป็น Size Insentive เช่น เสื้อผ้า , ฝ้าย แต่ทั้งนี้จะต้องมีการชั่งน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบว่า หากน้ำหนักปริมาตรสูงกว่า ก็จะคิดค่าระวางจากน้ำหนัก

การคำนวณได้จากปริมาตรของสินค้า คือ เป็นการวัดขนาดของสินค้า กว้าง x ยาว x สูง คำนวณออกมาเป็น ลูกบาศก์เมตร (M3 หรือ CBM)

ยกตัวอย่างเช่น สินค้าชนิดหนึ่งบรรจุในกล่องขนาด กว้าง 200 cm., ยาว 450 cm., สูง 250 cm. น้ำหนัก 1 ตัน สมมุติว่าค่าระวางเรือจาก ท่าเรือ กรุงเทพ ไป ท่าเรือ สิงค์โปร์ เท่ากับ USD 10

คำนวณน้ำหนักปริมาตร (กว้าง 150 cm. x ยาว 200 cm. x สูง 100 cm.)/1,000,000 = 3 CBM นำมาเปรียบเทียบน้ำหนักที่ชั่งได้ ซึ่งน้ำหนักปริมาตรมากกว่า จึงนำมาคูณกับค่าระวางเรือ USD 10 จึงได้ค่าระวางทั้งหมด USD 30

นอกจากนั้นการคำนวณจำนวนปริมาตรสินค้า (CBM) ยังสามารถนำมาใช้คำนวณเป็นค่าประมาณการจำนวนสินค้าที่จะสามารถบรรจุได้ใน 1 ตู้ ซึ่งโดยทั่วไปตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต สามารถบรรจุได้ไม่เกิน 28 CBM และตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต สามารถบรรจุได้ประมาณ 55-58 CBM