กระแสย้อนยุคแรง มาศึกษาประวัติ “โลจิสติกส์” ของไทยกัน!!
กระแสย้อนยุคแรง มาศึกษาประวัติ “โลจิสติกส์” ของไทยกัน!!
ประวัติความเป็นมาของโลจิสติกส์ (History logistics) โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (อังกฤษ: logistics) หมายถึง เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้าข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูลการขนส่งการบริหารวัสดุคงคลังการจัดการวัตถุดิบการบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่
คำว่า โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า “logistique” ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึง การเก็บ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่นๆ
การจัดการโลจิสติกส์จัดได้ว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในธุรกิจต่างๆ ณ ปัจจุบัน หลายๆธุรกิจพุ่งเป้าไปที่การลดต้นทุนทางด้านนี้เป็นหลักไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจในสหรัฐอเมริกาหรือแม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นเองก็ตามรวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วอีกหลายๆประเทศดังนั้นผู้ที่สนใจในเรื่องโลจิสติกส์ลองมาดูสิว่าความเป็นมาของโลจิสติกส์เป็นอย่างไร
ช่วงค.ศ.(1950 – 1964) เริ่มมีการใช้ในกิจกรรมทางทหาร ในยุคนี้เป็นยุคของการผลิตสินค้าเป็นหลัก ทั้งฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายขนส่ง ต้นทุนในกระบวนการกระจายสินค้าสูง ในช่วงปลายค.ศ.1964 เริ่มมีการประสานงานในกระบวนการกระจายสินค้าแต่ยังขาดผู้รับผิดชอบด้านคลังสินค้าและเริ่มหาทางเลือกในกิจกรรมโลจิสติกส์มากขึ้น
ช่วงค.ศ.(1965 – 1979) ลูกค้าเริ่มมีความต้องการบริการสูงขึ้น เริ่มมองทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพในการให้บริการ ในยุคนี้เริ่มพิจารณาเรื่องกำไร การลดต้นทุน ผลตอบแทนของการลงทุน โดยมุ่งให้ความสนใจต่อการลงทุนในสินทรัพย์และการจัดการมากขึ้น
ช่วงค.ศ.(1980 – 1990) ยุคนี้เริ่มที่จะมีการขยายธุรกิจเป็นแบบธุรกิจข้ามชาติมากขึ้น โลจิสติกส์ต้องใช้พลังงานในการเคลื่อนย้าย เริ่มมีระบบสหภาพแรงงาน พนักงานมีการเจรจาต่อรองอย่างรุนแรง ยุคนี้ผู้บริหารเริ่มมองเรื่องการจัดการซัพพลายเชนมากขึ้น แต่ปัญหาในยุคนี้ คือ ไม่มีใครสามารถมองภาพของความต้องการสินค้าของลูกค้า รวมถึงระดับสินค้าคงคลังตลอดซัพพลายเชนได้ชัดเจน
ช่วงค.ศ.(1990 – จนถึงปัจจุบัน) ยุคนี้เริ่มมีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากหลายฝ่ายที่นำเข้ามารวมกัน โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ลดความผิดพลาดในด้านข้อมูลนำเข้าเพราะมีการนำเข้าข้อมูลครั้งเดียว ลดความซ้ำซ้อนของงาน ทำให้มีการไหลของสารสนเทศเร็วขึ้น ลดระยะเวลาในแต่ละกิจกรรม
อ่านต่อได้ที่ : http://www.logisticafe.com/2011/01/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C-history-logistics/